เกี่ยวกับ อบต.
ประวัติความเป็นมา ตำบลบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี คำว่า “ บ้องตี้ ” เป็นชื่อของหมู่บ้าน ซึ่งเกิดจากการก่อตัวของชุมชนกลุ่มเล็ก ตั้งอยู่บริเวณชายขอบเส้นแบ่งเขตประเทศไทย และ เมียนม่าร์ (พม่า) ตั้งอยู่จุดต่ำสุดของภูเขาตะนาวศรี (ตีนเขา) ซึ่งเป็นภูเขาที่มีความยาวจากจังหวัดตาก ถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นภูเขาแห่งพรมแดน บ้องตี้จึงมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ มีภูเขาล้อมรอบที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นที่ราบเชิงเขา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี หมู่บ้านบ้องตี้บนเกิดการก่อตั้งของชุมชนเป็นกลุ่มบ้านบ้องตี้ ราวปี พ.ศ. 2435 หรือก่อนหน้านั้นแต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน การก่อตัวของชุมชน ในยุคนั้น การคำนวณก่อตั้งชุมชน ได้ตั้งข้อสังเกตจากอายุของบุคคลที่เกิดในตำบลบ้องตี้ เช่น นายสมยา จำเริญ เกิด เมษายน 2469 ขณะสัมภาษณ์อายุ 78 ปี (เสียชีวิต 8 ตุลาคม 2548 ) นางเครือวัลย์ กรุงจิตร เกิด พ.ศ. 2470 ขณะสัมภาษณ์อายุ 84 ปี ,นายสิ่ว ใครหอม อายุ 75 ปี , นางอำไพ ยันบัวบาน อายุ 75 ปี , นายวิเชียร กรุงจิตร อายุ 65 ปี , นายวิชัย ศิริสัตยากุล อายุ 56 ปี , นายประวิทย์ ดอกมะขาม อายุ 58 ปี , นายสะเวนโจ ทองเปราะ อายุ 58 ปี , นายโกวิท ปรึกษา อายุ 52 ปี , นายสริภพ กรุงจิตร อายุ 52 ปี , นายบุญกิด จันทร์ตาแก้ว อายุ 51 ปี , นายปรีชา แก้วประเสริฐ อายุ 46 ปี และ นายสุวรรณ ทองเปราะ อายุ 42 ปี หมู่บ้านบ้องตี้ จัดตั้งหมู่บ้านตาม พรบ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ.2475 ชื่อหมู่บ้านบ้องตี้บน หมู่ที่ 3 ตำบลสิงห์ พ.ศ. 2481 ระหว่าง พ.ศ. 2492 – 2512 , ยุคของผู้ใหญ่สะรูเป้ ทองเปราะ และผู้ใหญ่ลอโพ ใครหอม อำเภอไทรโยคได้จัดตั้งตำบลลุ่มสุ่ม หมู่ 3 บ้านบ้องตี้ตำบลสิงห์เดิม มีพื้นที่ติดกับตำบลลุ่มสุ่ม จึงถูกแยกออกจากตำบลสิงห์ มาเป็นหมู่ที่ 5 ตำบลลุ่มสุ่ม ( ยังไม่มีข้อมูลวันเดือนปีจึงยังไม่ระบุชัดเจน ) หมู่ที่ 1 บ้านบ้องตี้บน แต่เดิมนั้น การก่อตัวของคนในชุมชนในยุคต้น มีครอบครัวของ นายวอโพ นางเจอโพ จำเริญ , นายบือละ กรุงจิตร , นายลอเซ้พอ นางวาชามื่อ ดอกมะขาม , นายนุแกวะ ใครหอม ฯลฯ เป็นชุมชนยุคก่อตั้งและมีนางซอมือ กรุงจิตร , นางปรีมื่อ จำเริญ , นายบอ นางนอมื่อ เสือหอม ฯลฯ เป็นชุมชนยุคที่ 2 นายเพียโพ้ ใครหอม , นางมูเชอ นายแวะ ฯลฯ เป็นชุมชนยุคที่ 3 นางเครือวัลย์ กรุงจิตร , นางบุญธรรม ดอกมะขาม , นายสุดใจ ใครหอม , นางเดอโพ พรมมาศ , นายลอโพ ใครหอม , นางปาโพ นายวาทิโพะ ใครหอม , นายสมยา จำเริญ เป็นชุมชนยุคที่ 4 นายสิ่ว ใครหอม , นายประเทือง ทองเปราะ , นายประสิทธิ์ ทองเปราะ , นายพาท ทองเปราะ ( ย้ายถิ่น ) ฯลฯ เป็นชุมชนยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2484 การก่อตัวของชุมชนบ้องตี้ได้เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน การอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ของชุมชนไม่น้อยกว่า 121 ปี ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และปฏิสัมพันธ์ของชุมชนยุคต้นมีความใกล้ชิด อาจมีบุคคลที่เป็นต้นตระกูลเพียงไม่กี่ตระกูล หมู่ที่ 2 บ้านบ้องตี้ล่าง ชุมชนในยุคต้นประกอบไปด้วยครอบครัวของ นายจอเทียะ กรุงจิตร , นางซะรุทอ , นายเซ้พอ นางวาชามื่อ หลังจากนั้นมีครอบครัวของนายพอยี นายดซอคว้า ดอกมะขาม ฯลฯ เป็นชุมชนยุคที่ 2 จากคำบอกเล่าสู่ชุมชนบ้องตี้ล่างเคยมีการอพยพย้ายถิ่น หนีโรคฝีดาษ โรคห่า และภัยจากสัตว์ป่า จนกลายเป็นหมู่บ้านร้าง ต่อมาในยุคก่อตั้งชุมชนมีครอบครัวของ นางพอยี นายเซอคว้า ดอกมะขาม , นายพาเกะ นายกะเปอ มือโชแฮ , นายจอเงเจ นางเปรมื่อ ปรึกษา , นายจอเที่ยะ นางบืมเจมือ ทองเปราะ , นายซีระ นายยาเปร ใครหอม , นายกะเปอ จำเริญ ฯลฯ เป็นยุคแรก ยุคการขยายตัวของชุมชน มีครอบครัวของ นายกอมารู นายพายะ ทองเปราะ , นายพะจ่า นางยะตา ปรึกษา , นายสแวคว้า ใครหอม , นางปาระแปร นายโตแย มือโชแฮ , นายกะเปอ, นายพาเกะ , นายสนิท นางสะแวะเอ มือโชแฮ , นางเครือวัลย์ ฯลฯ ระหว่างวันนี้มีการย้ายถิ่นของครอบครัวจากบ้องตี้น้อย ทองผาภูมิ บ้านมะต้องสู้ ฯลฯ ชุมชนจึงต้องขยายตัวในเวลาต่อมา หมู่บ้านบ้องตี้ล่างเกิดการก่อตัวของชุมชนครั้งแรก อาจจะเป็นช่วงเวลาเดียวกับบ้องตี้บน แต่อาจจะมีช่วงการเว้นวรรค การหนีภัยต่างๆ การเป็นหมู่บ้านร้าง การอาศัยอยู่ของชุมชนขาดความต่อเนื่องไป การเชื่อมต่อของหมู่บ้านบ้องตี้ล่าง จึงเกิดยุคที่ 2 ของชุมชนที่ขยายตัว และในระหว่าง พ.ศ. 2526 - 2540 ในการย้ายถิ่นเข้ามาในรอบใหม่ เป็นชุมชนทางภาคอีสานจังหวัดหนองคาย จังหวัดนคราชสีมา จังหวัดอุดรธานี ฯลฯ อาศัยอยู่บริเวณประดู่ทอง บ้านบ้องตี้ล่างจัดตั้งเป็นหมู่บ้านตาม พรบ. การปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 หมู่ที่ 2 ชื่อบ้านบ้องตี้ล่าง เมื่อ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2519 หมู่ที่ 3 บ้านท้ายเหมือง เดิมมีการตั้งหมู่บ้านอยู่ที่ ทิโพ้เคลอะ อยู่บริเวณเขามะพร้าวทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่อยู่ในปัจจุบัน มีนายลอเซ้พอ นางวาชามือ ดอกมะขาม , นางกราเวจอ นายบือละ กรุงจิต , นายบอ เสือหอม , นางนอมือ เสือหอม , นายเพียโพ , นางมูเชอ ใครหอม เป็นครอบครัวส่วนหนึ่งที่อยู่บริเวณนี้ ต่อมาได้ขยับมาอยู่ตอนล่างของหมู่บ้าน บางส่วนย้ายไปบ้องตี้ล่าง บางส่วนย้ายมาอยู่ในบ้องตี้บน บางส่วนย้ายมาอยู่ศรีมงคล ครอบครัวนายเพียโพ นางมูเชอ ใครหอม ได้ย้ายมาทางด่านห้วยโมงบริเวณท้ายห้วยชะอม หลังจากนั้นก็มีครอบครัวของนาย จาซา เข้ามาสมทบ การย้ายถิ่นของคนกะเหรี่ยงบ้องตี้ มีสาเหตุมาจากเกิดโรคระบาด ภัยจากสัตว์ป่า การเสียชีวิตที่ไม่ปกติ ในอดีตในหมู่บ้านของ ทิโพ้เคลอะ ดงป่าไม้ (เสะกลา) พุดีปรี (เคลอะ) บรรพบุรุษของคนบ้องตี้อาศัยอยู่บริเวณนี้เป็นเวลายาวนาน เกิดการขยายตัวของชุมชนละแวกนี้พอสมควร จนถึง ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ชุมชนที่ขยายตัวอยู่บ้องตี้ล่าง บ้องตี้บน ได้หนีภัยสงคราม (ทหารญี่ปุ่น) กลับเข้าไป ณ หมู่บ้านดังเดิม (ดงป่าไม้,พุ ดีปรี , ทิโพ้เคลอะ) หลังสงครามโลกเลิกจึงย้ายกลับมา ณ ที่ตั้งปัจจุบัน ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณปากห้วยชะอม (เฮาะศิน่าถะ) ได้ขยับลงมาทำไร่ข้าวและตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณบ้านท้ายเหมืองปัจจุบัน (พิกัด MR 991543) และในช่วง พ.ศ. 2509 – 2524 มีนายทุนเข้ามาสัมปทานเหมืองแร่ดีบุกบริเวณบ้านท้ายเหมือง ชาวบ้านเรียกชื่อนายทุนคนนี้ว่า เถ้าแก่สมพร บริเวณบ้านท้ายเหมือง การทำเหมืองแร่ได้เกิดการจ้างแรงงาน มีแรงงานของชุมชนบ้องตี้ แรงงานกระเหรี่ยง ทวาย มุสลิม พม่า ข้ามพรมแดนมาจากประเทศพม่า เข้ามาขายแรงงานในเหมืองแร่ การทำเหมืองแร่ฯ มีระยะเวลา 10 - 15 ปี ช่วงเวลาของการทำเหมืองแร่ แรงงานต่างๆ ก็เกิดการขยายตัวของประชาชนขนาดย่อม จากที่หมดอายุของสัมปทานเหมืองแร่ ก็หยุดตัวลง แรงงานต่างๆ ก็กระจัดกระจายย้ายถิ่นไปที่อื่นในประเทศไทย บางส่วนก็เดินทางกลับประเทศพม่า แต่มีแรงงานบางส่วนตกค้างอยู่ที่ท้ายเหมือง เช่น ครอบครัวของ นาย ซานตาคาน (พ่อ นายชม ปาทาน) ครอบครัวของนายมาสตาน (พ่อของนายฮาวาบีหรืออรณี ปาทาน) ครอบครัวของนายบอซอตาลี นางอามีนา ( ตายายของ น.ส.นูบามี ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดชื่อ น.ส.บุษยา โชคธนะวงศ์) ครอบครัวแรงงานที่ตกค้างอยู่ก็ประกอบอาชีพทำไร่รับจ้างอยู่ร่วมกับชุมชนของกลุ่มชุมชนนายเพียโพ้ นางมูเชอ นายจาซา ประกอบกับการยายถิ่นจากชุมชนอื่น ๆ เข้ามาอยู่เป็นระยะ ประชากรของชุมชนและจำนวนครัวเรือนจึงมากขึ้น ต่อมาได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านตาม พรบ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ.2475 ชื่อ “ บ้านท้ายเหมือง ” เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2519 เป็นองค์ประกอบของหมู่บ้านหนึ่งในการขอยกฐานะเป็นตำบลบ้องตี้ หมู่ 4 บ้านทุ่งมะเซอย่อ การก่อตัวของชุมชนเกิดขึ้นราวก่อน พ.ศ.2513 มีครัวเรือนเริ่มก่อตัวครั้งแรก 3 ครัวเรือน ประกอบไปด้วยครอบครัวของนายเรือง สมบัติวงศ์, นายปลิว ดาบทอง , นายปริก นาคงเขียว ต่อมามีการย้ายถิ่นจากชุมชนพื้นราบจาก จ.กาญจนบุรี จากจังหวัดชัยภูมิ ครอบครัวของนายโม่ง ผาดี , จากจังหวัดสุพรรณบุรี ครอบครัวของนายสมบัติ โพธิ์มณี , นายม้วน คุ้มทองดี , นายปี เส่งสุ่น , จากจังหวัดบุรีรัมย์ ครอบครัวของนายนึก นางปิ่น ชะเวิงรัมย์ , นายเภา สายศ , นายผิน นางเปลื้อง จรัสรัมย์ , นายเย็น นางจันทร์ แว่นรัมย์ , นายปี นางผ่อง แว่นรัมย์ การขยายตัวของชุมชนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว กลุ่มชุมชนต่างๆ การแบ่งกลุ่มบ้านของชุมชนเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศ เช่นกลุ่มมะเซอย่อ กลุ่มสุพรรณ กลุ่มห้วยข้าวหลามและกลุ่มลำสมอ พ.ศ. 2519 อำเภอไทรโยคได้ยกฐานะและจัดตั้งหมู่บ้านบ้องตี้ขึ้นเป็นตำบล เมื่อ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2519 ชื่อ ตำบลบ้องตี้ มี หมู่ 1 บ้องตี้บน หมู่ 2 บ้องตี้ล่าง หมู่ 3 บ้านท้ายเหมือง เป็นองค์ประกอบการจัดตั้งตำบลครั้งแรก และเมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2524 ได้จัดตั้งหมู่ 4 บ้านทุ่งมะเซอย่อ เพิ่มเป็นหมู่บ้านที่สี่จนถึงปัจจุบัน ชื่อและความหมาย ในความน่าจะเป็นซึ่งดูจากการเข้ามาอยู่และก่อตั้งชุมชน คำว่า “ บ้องตี้ ” ซึ่งเป็นชื่อของตำบลบ้องตี้นั้น น่าจะเพี้ยนมาจากภาษากระเหรี่ยงโป บ่าว-ทิ แปลว่าน้ำเหลือง ชมรมประวัติศาสตร์จังหวัดกาญจนบุรีได้พยายามให้ความหมายและบันทึกว่าเป็นภาษากระเหรี่ยงโป แต่เมื่อมาศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในยุคสงครามสยามประเทศ พ.ศ. 2031 สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ( สงครามเก้าทัพ ) บทวิเคราะห์ในวิทยานิพนธ์ ของ นายคมรักษ์ ไชยะ : เรื่องกระเหรี่ยงในกระเหรี่ยงนอก ปฏิสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ ณ อาณาบริเวณชายแดน คณะมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2551 ประกอบกับแหล่งข้อมูลบุคคลในชุมชนรวมถึงชื่อสถานที่ต่างๆ และการประมวลเรื่องความเป็นมาของชุมชนที่เกิดจากการย้ายถิ่นโดยการเดินทางไกลจากสภาพการเดินทางด้วยเท้า จึงให้น้ำหนักต่อความหมายของชื่อ “ บ้องตี้ ” เป็นภาษามอญที่แปลว่า “ ขาอ่อน ” “ ความเมื่อยล้าจากการเดินทางไกล จนขาอ่อนแรง = บ้องตี้ ” เยาวชนรุ่นใหม่ในวงเสวนาชื่อของบ้องตี้ จากการสรุปความเป็นมาได้ให้นิยามไว้ว่า “ บ้องตี้ ” คือจุดศูนย์รวมคนเมื่อยล้า ( ดุสิต จำเริญ พ.ศ. 2543 )
|
วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ “ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ เป็นที่พึ่งชาวประชา มุ่งเน้นการศึกษา พัฒนาเศรษฐกิจ ใส่ใจคุณภาพชีวิต ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ”
พันธกิจองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ 1. พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้ครอบคลุมทั่วถึง 2. จัดระเบียบชุมชุนและสังคม สร้างความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3. อนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เป็นเมืองน่าอยู่ 4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5. ส่งเสริมการศึกษา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 6. ส่งเสริมการลงทุน การท่องเที่ยว และ การขนส่ง 7. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น 8. พัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน โดยยึดหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี |
|
ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล ตำบลบ้องตี้ เป็นหนึ่งในเจ็ดตำบลของอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีระยะทางห่างจาก ที่ว่าการอำเภอไทรโยคไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 29 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 132 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 82,500 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลศรีมงคล และ ประเทศพม่า ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศพม่า
จำนวนหมู่บ้าน ตำบลบ้องตี้แบ่งการปกครองเป็น 4 หมู่บ้าน ดังนี้ 1.) หมู่ที่ 1 บ้านบ้องตี้บน 2.) หมู่ที่ 2 บ้านบ้องตี้ล่าง 3.) หมู่ที่ 3 บ้านท้ายเหมือง 4.) หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งมะเซอย่อ ลักษณะภูมิประเทศ ตำบลบ้องตี้มีลักษณะภูเขาล้อมรอบเป็นลูกคลื่น มีภูเขาเล็กๆ อยู่ทั่วไป และสภาพทางกายภาพเป็น ที่ราบเชิงเขา หรือที่ราบหุบเขา การตั้งบ้านเรือนของราษฎรจะกระจายอยู่ตามพื้นที่ราบและ ลำห้วยบ้องตี้ น้ำในลำห้วยบ้องตี้เป็นแหล่งน้ำที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ มีแหล่งต้นน้ำไหลจาก เขามะพร้าวที่อยู่ทางทิศใต้และไหลจากภูเขาตะนาวศรีทางทิศตะวันตก ไหลผ่านหมู่บ้านไปทาง ทิศตะวันออก แยกขึ้นไปทางทิศเหนือผ่านบ้านบ้องตี้ล่าง บ้านทุ่งมะเซอย่อ ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อย ที่บ้านแก่งประลอมตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค ลักษณะภูมิอากาศ อากาศโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ฤดูร้อนจะร้อนและแล้งมาก ฤดูฝน ฝนจะตกซึ่งในปัจจุบันฝนตก ในปริมาณน้อยและหมดเร็วไม่ตรงตามฤดูกาล ฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็น อาจมีลมและมีหมอกหนา ในบางครั้ง ลักษณะของดิน ลักษณะของดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ลักษณะของแหล่งน้ำ ลักษณะของแหล่งน้ำ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.) แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ ลำห้วยบ้องตี้บน ลำห้วยบ้องตี้ล่าง ลำห้วยพุสมี ลำห้วยท้ายเหมือง ลำห้วยหมู่กระเหรี่ยง ลำห้วยบ้านทุ่งมะเซอย่อ ลำห้วยข้าวหลาม ลำห้วยลำสมอ ลำห้วยซอยสุพรรณ ลำห้วยดงยาง ลำห้วยสีดอ ลำห้วยมะนาว ลำห้วยประดู่ทอง 2.) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ (1.) อ่างเก็บน้ำหนองน้ำขุ่น หมู่ 1 (2.) อ่างเก็บน้ำท้ายเหมือง หมู่ 3 (3.) อ่างเก็บน้ำลำสมอ หมู่ 4 (4.) อ่างเก็บน้ำห้วยข้าวหลาม หมู่ 4 (5.) อ่างเก็บน้ำทุ่งมะเซอย่อ หมู่ 4 บ่อโยก จำนวน 3 บ่อ บ่อสูบน้ำด้วยเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า จำนวน 11 แห่ง บ่อน้ำตื้น จำนวน 78 บ่อ ถังเก็บน้ำฝน คสล. จำนวน 19 แห่ง ฝาย จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ (1.) ฝายทดน้ำวังขะโดะ หมู่ 1 (2.) ฝายชะลอน้ำ ไร่อดีตกำนัน ศักดิ์ ทองเปราะ หมู่ 1 (3.) ฝายน้ำล้น พุสมี หมู่ 1 (4.) ฝายชะลอน้ำ กุยวาบอ หมู่ 2 (5.) ฝายชะลอน้ำ (หลังบ้านนายสมภาร ปัตถามัย) หมู่ 2 (6.) ฝายทดน้ำห้วยว่ายอ หมู่ 4 ลักษณะของไม้และป่าไม้ ลักษณะของป่าไม้ ในพื้นที่มีป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง เขตป่าสงวนแห่งชาติ วังใหญ่ - แม่น้ำน้อย มีป่าพระเทพฯ ป่าชุมชน |
เขตการปกครอง ตำบลบ้องตี้แบ่งการปกครองเป็น 4 หมู่บ้าน ดังนี้ 1. หมู่ที่ 1 บ้านบ้องตี้บน 2. หมู่ที่ 2 บ้านบ้องตี้ล่าง 3. หมู่ที่ 3 บ้านท้ายเหมือง 4. หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งมะเซอย่อ การเลือกตั้ง 1. การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ แบ่งเป็น 1 เขตเลือกตั้ง 2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่งเขตเลือกตั้ง มีจำนวน 4 เขตเลือกตั้ง โดยยึดเขตหมู่บ้านแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง |
อาชีพ ราษฎรในตำบลบ้องตี้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม พืชที่ปลูก ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ฟักทอง พริก พืชผัก กล้วย อาชีพเสริม ราษฎรในตำบลบ้องตี้ เลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร แพะ ไก่ ฯลฯ และผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ สานเข่ง ไม้เสียบปลาหมึก เสริมรายได้ ราษฎรวัยหนุ่มสาว ส่วนใหญ่ขายแรงงานนอกตำบลในเมืองใหญ่ และกรุงเทพมหานคร
การเกษตร
ประชาชนในตำบลบ้องตี้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม พืชที่ปลูก ได้แก่
การประมง พื้นที่ตำบลบ้องตี้ ไม่อำนวยในการทำการประมง เนื่องจากแหล่งน้ำมีน้อย และมักจะประสบปัญหา ภัยแล้ง การปศุสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์ไว้ในครัวเรือนบ้าง แต่ไม่ทำเป็นอาชีพหลัก เช่น การเลี้ยงแพะ เลี้ยงวัว เลี้ยงสุกร เป็นต้น การท่องเที่ยว ปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวยังไม่ได้รับความนิยม ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ ร่วมกับผู้นำชุมชน ประชาชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อยู่ในขั้นตอนดำเนินการพัฒนาให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวที่พร้อมให้บริการประชาชน สถานที่ท่องเที่ยว เช่น ป่าพระเทพฯ , ถ้ำสามฤดู , เส้นทางประวัติศาสตร์ , อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น อุตสาหกรรม การอุตสาหกรรมในพื้นที่ตำบลบ้องตี้ มีเพียงอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การทำไม้เสียบปลาหมึก การจักสาน เป็นต้น การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ กลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง , กลุ่มเลี้ยงสุกร , กลุ่มสาธิตการเพาะเห็ดนางฟ้า เป็นต้น หน่วยธุรกิจ หน่วยบริการ ในเขตตำบลบ้องตี้
|
การศึกษา โรงเรียน 1.) โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ (1.) โรงเรียนบ้านบ้องตี้ (2.) โรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์ สาขาทุ่งมะเซอย่อ 2.) โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ (1.) โรงเรียนบ้านบ้องตี้ หมู่ 1 (2.) โรงเรียน ตชด. บ้านบ้องตี้ล่าง หมู่ 2 (3.) โรงเรียน ตชด. วัดสุทธาสินี หมู่ 4 (4.) โรงเรียน ตชด. เฮงเค็ลไทย (ตชด.136) หมู่ 4 3.) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ (1.) ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดบ้องตี้ล้วนพูลผลาราม หมู่ 1 (ถ่ายโอนจากกรมศาสนา) (2.) ศพด. บ้านบ้องตี้ล่าง หมู่ 2 (ถ่ายโอนจากกรมพัฒนาชุมชน) (3.) ศพด. บ้านท้ายเหมือง หมู่ 3 (ถ่ายโอนจากกรมพัฒนาชุมชน) (4.) ศพด. บ้านทุ่งมะเซอย่อ หมู่ 4 (อบต.จัดตั้งฯ) (5.) ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (บ้านวังขะโด หมู่ 4 ) ( ควบคุมดูแล โดย กศน. อำเภอไทรโยค ) 4.) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลบ้องตี้ จำนวน 1 แห่ง ศาสนาและวัฒนธรรม การนับถือศาสนา ประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้องตี้ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือศาสนาคริสต์ และ ศาสนาอิสลาม ตามลำดับ สถาบันและองค์กรทางศาสนา 1.) วัด จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ (1.) วัดบ้องตี้ล้วนพูลผลาราม หมู่ 1 (2.) วัดทุ่งมะเซอย่อ หมู่ 4 2.) สำนักสงฆ์ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ (1.) อาศรมพระธรรมจาริก หมู่ 2 (ใกล้โรงเรียน ตชด.บ้องตี้ล่าง) (2.) สำนักสงฆ์สุธาสินี หมู่ 4 (3.) สำนักสงฆ์ประดู่ทอง หมู่ 4 3.) โบสถ์คริสต์ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ (1.) คริสตจักรตะนาวศรี หมู่ 1 ( ใกล้บ้านผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ) (2.) คริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส หมู่ 2 (3.) คริสตจักรแบ๊พติสบ้องตี้ (สังกัดภาค 16) หมู่ 2 (4.) คริสตจักร หมู่ 2 (5.) คริสตจักร หมู่ 2 4.) มัสยิด จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ (1.) มัสยิดอัล-มูฮายีรีน (ที่ตั้ง เลขที่ 6 หมู่ 3 ตำบลบ้องตี้ ) ประเพณีและงานประจำปี กิจกรรมงานประเพณีและงานประจำปี มีดังต่อไปนี้ เดือนมกราคม งานประเพณีปีใหม่กะเหรี่ยง , งานวันเด็กแห่งชาติ เดือนกุมภาพันธ์ งานประเพณีทางศาสนา วันมาฆบูชา เดือนเมษายน งานประเพณีทอดสะพานค้ำต้นโพธิ์ , งานประเพณีบุญบั้งไฟ เดือนเมษายน งานประเพณีสงกรานต์ และ วันผู้สูงอายุแห่งชาติ เดือนกรกฎาคม งานประเพณีทางศาสนา วันวิสาขบูชา เดือนกรกฎาคม งานประเพณีแห่เทียนจำนำพรรษา เดือนสิงหาคม งานกีฬาวันแม่แห่งชาติ เดือนพฤศจิกายน งานประเพณีวันลอยกระทง เดือนธันวาคม วันสำคัญเกี่ยวกับรัฐพิธี และ สถาบันพระมหากษัตริย์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น : การจักสาน , การทอผ้า เป็นต้น ภาษาถิ่น : เนื่องจากมีประชากรเชื้อสายกะเหรี่ยงอยู่เป็นจำนวนมาก ภาษาที่ใช้จึงใช้ภาษากะเหรี่ยง และ ภาษาไทย สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก สินค้าเกษตร ผ้าทอกะเหรี่ยง |
การบริการพื้นที่ การคมนาคมขนส่ง มีถนนลาดยาง รพช. เป็นถนนสายหลัก ถนนส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นถนนลูกรัง , การบริการรถโดยสาร รถประจำทางเส้นทางบ้องตี้บนไปจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีบริการวันละ 3 รอบ เวลา 6.15 น. , 6.40น. , 7.00 น.และมีบริการรถโดยสารรถประจำทางเส้นทางทุ่งมะเซอย่อไปจังหวัดกาญจนบุรี ในเวลา 7.30 น. การไฟฟ้า ตำบลบ้องตี้ มีประชาชนที่มีไฟฟ้าใช้จำนวน 1,530 ครัวเรือน และไม่มีไฟฟ้าใช้ ประมาณ 120 ครัวเรือน การประปา ประปาหมู่บ้าน มีทั้งหมดจำนวน 13 แห่ง ได้แก่ 1.) หมู่ 1 จำนวน 4 แห่ง 2.) หมู่ 2 จำนวน 3 แห่ง 3.) หมู่ 3 จำนวน 1 แห่ง 4.) หมู่ 4 จำนวน 5 แห่ง การโทรคมนาคม มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 9 แห่ง ดังนี้ 1.) หมู่ที่ 1 จำนวน 4 ตู้ 2.) หมู่ที่ 2 จำนวน 2 ตู้ 3.) หมู่ที่ 3 จำนวน 2 ตู้ เสารับส่งสัญญาณโทรศัพท์ จำนวน 5 แห่ง ดังนี้ 1.) หมู่ที่ 1 จำนวน 1 แห่ง 2.) หมู่ที่ 2 จำนวน 2 แห่ง 3.) หมู่ที่ 4 จำนวน 2 แห่ง หอกระจายข่าว เสียงตามสาย มีทั้งจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.) หมู่ที่ 1 2.) หมู่ที่ 2 3.) หมู่ที่ 4 เสียงไร้สาย ส่งสัญญาณจากสำนักงาน อบต.บ้องตี้ ไปยัง 4 หมู่บ้าน มีจุดกระจายเสียง 10 จุด ติดตั้ง ณ บริเวณดังต่อไปนี้ 1.) หน้าบ้านอดีตกำนันประเทือง ทองเปราะ หมู่ 1 2.) หน้าบ้านนายสมเจตน์ ปรึกษา หมู่ 1 3.) หน้าโบสถ์คริส ซอยบ้านผู้ใหญ่สุจินต์ ใครหอม หมู่ 1 4.) หลัง รพสต.บ้านบ้องตี้ หมู่ 1 5.) หน้าบ้านนายไพบูลย์ ทองเปราะ หมู่ 2 6.) หน้าบ้านนายสมภาร ปัตถามัย หมู่ 2 7.) หน้าบ้านผู้ช่วยสมพงษ์ ทองเปราะ หมู่ 2 8.) หน้าบ้านนายนิทัศน์ ลูกอินทร์ หมู่ 2 9.) หน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท้ายเหมือง หมู่ 3 10.) หน้าบ้านนายปัญญา เสริมสุข หมู่ 4 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ ในพื้นที่มีไปรษณีย์ตำบลที่ให้บริการ 1 แห่ง การบริการ การบริการรถโดยสารรถประจำทางเส้นทางบ้องตี้บน (หมู่ 1) ไปจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีบริการวันละ 3 รอบ เวลา 6.15 น. , 6.40น. , 7.00 น. และมีบริการรถโดยสารรถประจำทางเส้นทางจาก บ้านทุ่งมะเซอย่อ (หมู่ 4) ไปจังหวัดกาญจนบุรี ในเวลา 7.30 น. สาธารณสุข มีสถานบริการด้านสาธารณสุข จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 1.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ้องตี้ หมู่ที่ 1 2.) หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 5.1.4 หมู่ที่ 1 อาชญากรรม ในพื้นที่ตำบลบ้องตี้มีการก่ออาชญากรรมค่อนข้างน้อย เช่น การลักทรัพย์ และการทะเลาะวิวาท แต่ไม่บ่อยครั้ง แต่มีหน่วยบริการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่ให้บริการประชาชน ดังนี้ หน่วยงานด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ 1.) กองร้อยเฉพาะกิจ ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 136 (หมู่ 1) 2.) จุดบริการประชาชน ที่ทำการสายตรวจบ้องตี้ (หมู่ 1) 3.) หน่วยกู้ภัย มูลนิธิพิทักษ์กาญจน์ (หมู่ 2) 4.) ป้อม ชรบ. (หมู่ 2) 5.) จุดตรวจบ้านท้ายเหมือง ร้อย อส อ.ไทรโยค ที่ 7 (หมู่ 3) 6.) จุดตรวจตำรวจตระเวนชายแดน กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 136 (หมู่ 3) ยาเสพติด ในพื้นที่ตำบลบ้องตี้มีปัญหาเรื่องยาเสพติดแต่ไม่รุนแรงนัก ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการกำกับดูแลอยู่อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนประชาชน ผู้นำหมู่บ้าน ช่วยกันสอดส่องดูแล ให้พื้นที่เกิดความสงบสุข ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ 1.) ลำห้วยบ้องตี้บน 2.) ลำห้วยบ้องตี้ล่าง 3.) ลำห้วยท้ายเหมือง 4.) ลำห้วยพุสมี 5.) ลำห้วยหมู่กระเหรี่ยง 6.) ลำห้วยบ้านทุ่งมะเซอย่อ 7.) ลำห้วยข้าวหลาม 8.) ลำห้วยประดู่ทอง 9.) ลำห้วยลำสมอ 10.) ลำห้วยซอยสุพรรณ 11.) ลำห้วยดงยาง 12.) ลำห้วยสีดอ 13.) ลำห้วยมะนาว แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น 1.) อ่างเก็บน้ำ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ (1.) อ่างเก็บน้ำหนองน้ำขุ่น (2.) อ่างเก็บน้ำท้ายเหมือง (3.) อ่างเก็บน้ำลำสมอ (4.) อ่างเก็บน้ำห้วยข้าวหลาม (5.) อ่างเก็บน้ำทุ่งมะเซอย่อ 2.) ฝาย จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ (1.) ฝายทดน้ำวังขะโดะ หมู่ 1 (2.) ฝายชะลอน้ำ ไร่อดีตกำนัน ศักดิ์ ทองเปราะ หมู่ 1 (3.) ฝายน้ำล้น พุสมี หมู่ 1 (4.) ฝายชะลอน้ำ กุยวาบอ หมู่ 2 (5.) ฝายชะลอน้ำ (หลังบ้านนายสมภาร ปัตถามัย) หมู่ 2 (6.) ฝายทดน้ำห้วยว่ายอ หมู่ 4 3.) บ่อโยก จำนวน 3 บ่อ 4.) บ่อสูบน้ำด้วยเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า จำนวน 11 แห่ง 5.) บ่อน้ำตื้น จำนวน 78 บ่อ 6.) ถังเก็บน้ำฝน คสล. จำนวน 19 แห่ง ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค) แหล่งน้ำกิน น้ำใช้ เพื่อการอุปโภค บริโภค มีทั้งแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ลำห้วย ส่วนที่เป็นแหล่งน้ำ ที่ใช้สร้างขึ้น ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ ฝาย บ่อน้ำ เป็นต้น น้ำ มีแหล่งน้ำทั้งทางธรรมชาติ ได้แก่ลำห้วยต่างๆ ที่ไหลผ่านทั้ง 4 หมู่บ้านในตำบลบ้องตี้ ป่าไม้ พื้นที่ตำบลบ้องตี้มีพื้นที่จำนวนมากที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ มีป่าชุมชนที่คนในชุมชนร่วมกัน อนุรักษ์ดูแล และป่าที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเสด็จฯ ซึ่งประชาชนในพื้นที่เรียกสั้นว่าป่าพระเทพฯ ที่ชาวบ้านช่วยกันดูแลเช่นกัน ภูเขา ตำบลบ้องตี้มีลักษณะภูเขาล้อมรอบเป็นลูกคลื่น มีภูเขาเล็กๆ อยู่ทั่วไป และสภาพทางกายภาพเป็น ที่ราบเชิงเขา หรือที่ราบหุบเขา มีภูเขาตะนาวศรีกั้นชายแดนไทย-พม่า คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตำบลบ้องตี้ ปัจจุบัน ทั้งภาคประชาชน และ หน่วยงานราชการ ร่วมกันดูแลรักษา เนื่องจากปัจจุบันการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค ในฤดูแล้งเป็นปัญหาที่ก่อผลกระทบในการดำรงชีวิตของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ จึงจัดทำโครงการและขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งแหล่งน้ำ ป่าไม้ ยังคงสภาพสมบูรณ์ต่อไป |