แผนอัตรากำลัง 3 ปี ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566

1 ตุลาคม 2563
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

 

 

 

                  

 

ตามที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. กำหนดให้ “แผนอัตรากำลัง 3 ปี” เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสอบการใช้ตำแหน่งขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา ให้เป็นไปอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อควบคุมภาระค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงานบุคคลไม่ให้เกินกว่าร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ ในแผนอัตรากำลังกำหนดให้แสดงข้อมูลอัตรากำลังทั้งข้าราชการส่วนท้องถิ่นและพนักงานจ้างให้อยู่ในฉบับเดียวกัน ซึ่งได้แก่ ข้อมูลตำแหน่งและอัตราของข้าราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการถ่ายโอน ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้าง และ พนักงานจ้างทุกประเภท ทั้งที่ตั้งจ่ายจากหมวดเงินเดือน ค่าจ้างของท้องถิ่น และที่ตั้งจ่ายจากการได้รับจัดสรรเงินเดือน ค่าจ้างจากเงินอุดหนุนรัฐบาล

ดังนั้น เพื่อให้การจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี ประจำปี 2561 – 2563  ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการใช้อัตรากำลังการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนตำบลบ้องตี้ให้เหมาะสม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้  จึงได้จัดทำแผนอัตรากำลังใช้ประกอบในการจัดสรรงบประมาณและการบรรจุแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบล เพื่อให้การบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อประชาชน เกิดสัมฤทธิ์ผลต่อภารกิจตามอำนาจหน้าที่ มีประสิทธิภาพ   มีความคุ้มค่า สามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงานสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

                                                                             องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนผังลำดับงาน: หลายเอกสาร: สารบัญ

 

 

 


               

เรื่อง                                                                                                    หน้า

1. หลักการและเหตุผล                                                                                 1

2. วัตถุประสงค์                                                                                         2

3. กรอบแนวคิดในการจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี                                                     3

4. สภาพปัญหา ความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                6

5. ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                             14

6. ภารกิจหลัก และภารกิจรอง ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการ                         18

7. สรุปปัญหาและแนวทางในการกำหนดโครงสร้างส่วนราชการและกรอบอัตรากำลัง             19

8. โครงสร้างการกำหนดส่วนราชการ                                                                  20

9. ภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น                                       33

10.แผนภูมิโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการตามแผนอัตรากำลัง 3 ปี                                 36

11. บัญชีแสดงจัดคนลงสู่ตำแหน่งและการกำหนดเลขที่ตำแหน่งในส่วนราชการ                             40

12. แนวทางการพัฒนาข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น                                         44   

13. ประกาศคุณธรรม จริยธรรมของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นและลูกจ้าง               45

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-1-

 

 

แผนผังลําดับงาน: กระบวนการสำรอง: 1. หลักการและเหตุผล

 

 


1.1 ประกาศคณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.กลาง) เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับอัตราตำแหน่งและมาตรฐานของตำแหน่ง ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 4 กันยายน 2558 กำหนดให้คณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น      (ก.จังหวัด)  พิจารณากำหนดตำแหน่งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ว่าจะมีตำแหน่งใด  ระดับใด อยู่ในส่วนราชการใด  จำนวนเท่าใด  ให้คำนึงถึงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ  ลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ  ความยาก  ปริมาณและคุณภาพของงานปริมาณ  ตลอดจนทั้งภาระค่าใช้จ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ โดยให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้  จัดทำแผนอัตรากำลังของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้ในการกำหนดตำแหน่ง  โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  (ก.กลาง)  ทั้งนี้  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.กลาง) กำหนด

                   1.2 ประกาศคณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  (ก.กลาง) ได้มีมติเห็นชอบประกาศการกำหนดตำแหน่งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  โดยกำหนดแนวทางให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้จัดทำแผนอัตรากำลัง เพื่อเป็นกรอบในการกำหนดตำแหน่งและการใช้ตำแหน่งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  โดยเสนอให้คณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบล (ก. จังหวัด)  พิจารณาให้ความเห็นชอบ  โดยกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดทำแผนอัตรากำลัง เพื่อวิเคราะห์อำนาจหน้าที่และภารกิจขององค์กรบริหารส่วนตำบลบ้องตี้  วิเคราะห์ความต้องการกำลังคนวิเคราะห์การวางแผนการใช้กำลังคน  จัดทำกรอบอัตรากำลังและกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดตำแหน่งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นตามแผนอัตรากำลัง 3 ปี

                   1.3 จากหลักเกณฑ์และเหตุผลดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ จึงได้จัดทำ                 แผนอัตรากำลัง 3 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2566  ขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-2-

 

 

แผนผังลําดับงาน: กระบวนการสำรอง: 2. วัตถุประสงค์

 

 


                   2.1  เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้  มีโครงสร้างการแบ่งงานและระบบงาน ระบบการจ้างที่เหมาะสม ไม่ซ้ำซ้อนอันจะเป็นการประหยัดงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.2  เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้  มีการกำหนดประเภทตำแหน่ง  สายงาน   การจัดอัตรากำลัง โครงสร้างส่วนราชการให้เหมาะสมกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ ตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท  และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

2.3  เพื่อให้คณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.จังหวัด)  สามารถตรวจสอบการกำหนดตำแหน่งและการใช้ตำแหน่งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  ข้าราชการครู  บุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างว่าถูกต้องเหมาะสมกับภารกิจ  อำนาจหน้าที่                        ความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้นหรือไม่

2.4  เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการวางแผนการพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้

2.5  เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้  สามารถวางแผนอัตรากำลังในการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  ข้าราชการครู  บุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง  เพื่อให้การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ เกิดประโยชน์ต่อประชาชน                   เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจตามอำนาจหน้าที่  ความรับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ  มีความคุ้มค่า  สามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน  มีการลดภารกิจและยุบเลิกภารกิจงานหรือหน่วยงานที่ไม่จำเป็น  การปฏิบัติภารกิจสามารถให้บริการสาธารณะ  แก้ไขปัญหา และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้เป็นอย่างดี

2.6  เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้  ดำเนินการวางแผนการใช้อัตรากำลังบุคลากรให้เหมาะสม การพัฒนาบุคลากรได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ และสามารถควบคุมภาระค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

2.7  เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้  มีการกำหนดตำแหน่งอัตรากำลังของบุคลากรที่สามารถตอบสนองการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และสนองนโยบายของรัฐบาล หรือมติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายขององค์การบริหารส่วนตำบล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-3-

 

 
  แผนผังลําดับงาน: กระบวนการสำรอง: 3. กรอบแนวคิดในการจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี

 

 

 

 


3.1  วิเคราะห์ภารกิจ  อำนาจหน้าที่  ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ ตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทและตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542  ตลอดจนกฎหมายอื่นให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  แผนพัฒนาจังหวัด  แผนพัฒนาอำเภอ  แผนพัฒนาตำบล  นโยบายของรัฐบาล  มติคณะรัฐมนตรี  นโยบายผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล  และสภาพปัญหาในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้  เพื่อให้การดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้บรรลุตามพันธกิจที่ตั้งไว้  จำเป็นต้องจัดสรรอัตรากำลัง  ตามหน่วยงานต่างๆ  ให้เหมาะสมกับเป้าหมายการดำเนินการ              โดยมุมมองนี้เป็นการพิจารณาว่า ลักษณะงานในปัจจุบันที่ดำเนินการอยู่นั้นครบถ้วนและตรงตามภารกิจอำนจหน้าที่  ความรับผิดชอบหรือไม่อย่างไร หากลักษณะงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันไม่ตรงกับภารกิจอำนาจหน้าที่  ความรับผิดชอบ จึงต้องพิจารณาวางแผนกรอบอัตรากำลังให้ปรับเปลี่ยนไปตามทิศทางในอนาคต รวมถึงหากงานในปัจจุบันบางส่วนไม่ต้องดำเนินการแล้ว อาจทำให้การจัดสรรกำลังคนของบางส่วนราชการเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมในเรื่องแผนอัตรากำลังคนให้สามารถรองรับสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

3.2  กำหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในและการจัดระบบงาน  เพื่อรองรับภารกิจ  ตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ  ให้สามารถแก้ปัญหาของจังหวัดกาญจนบุรี ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชน

                    3.3  การวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายของกำลังคน : Supply pressure เป็นการนำประเด็นค่าใช้จ่ายบุคลากรเข้ามาร่วมในการพิจารณา เพื่อการจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด กำหนดตำแหน่งในสายงานต่างๆ  จำนวนตำแหน่ง  และระดับตำแหน่ง  ให้เหมาะสมกับภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ  ปริมาณงาน  และคุณภาพของงาน  รวมทั้งสร้างความก้าวหน้าในสายอาชีพของกลุ่มงานต่างๆ โดยส่วนนี้จำคำนึงถึง

                             3.3.1  การจัดระดับชั้นงานที่เหมาะสม ในการพิจารณาถึงต้นทุนต่อการกำหนดระดับชั้นงานในแต่ละประเภท เพื่อให้การกำหนดตำแหน่งและการปรับระดับชั้นงานเป็นไปอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุด

                             3.3.2  การจัดสรรประเภทของบุคลากรส่วนท้องถิ่น (ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ข้าราชการครู  บุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างประจำ  และพนักงานจ้าง) โดยหลักการแล้ว การจัดประเภทลักษณะงานผิดจะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพ และต้นทุนในการทำงานขององค์กร ดังนั้น ในการกำหนดอัตรากำลังข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นในแต่ละส่วนราชการจะต้องมีการพิจารณาว่าตำแหน่งที่กำหนดในปัจจุบันมีความเหมาะสมหรือไม่หรือควรเปลี่ยนลักษณะการกำหนดตำแหน่งเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยภาระค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงานบุคคลต้องไม่เกินร้อยละ              สี่สิบของงบประมาณรายจ่ายตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น            พ.ศ.2542

 

 

 

 

 

-4-

 

 

                    3.4  การวิเคราะห์กระบวนการและเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เป็นการนำข้อมูลเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานตามกระบวนการจริง (Work process) ในอดีต  เพื่อวิเคราะห์ปริมาณงานต่อบุคคลจริง     โดยสมมติฐานที่ว่า งานใดที่ต้องมีกระบวนการและเวลาที่ใช้มากกว่าโดยเปรียบเทียบย่อมต้องใช้อัตราใช้อัตรากำลังคนมากกว่า อย่างไรก็ดีในภาคราชการส่วนท้องถิ่นนั้นงานบางลักษณะ เช่น งานกำหนดนโยบาย งานมาตราฐาน งานเทคนิคด้านช่าง หรืองานบริการบางประเภทไม่สามารถกำหนดเวลามาตรฐานได้ ดังนั้น การคำนวณเวลาที่ใช้กรณีของภาคส่วนราชการท้องถิ่นนั้นจึงทำได้เพียงเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ (Relative Inrormation) มากกว่าจะเป็นข้อมูลที่ในการกำหนดคำนวณอัตรากำลังต่อหน่วยงานจริงเหมือนในภาคเอกชน นอกจากนั้นก่อนจะคำนวณเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานแต่ละส่วนราชการจะต้องพิจารณาปริมาณงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติว่ามีความสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานหรือไม่ เพราะในบางครั้งอาจเป็นไปได้ว่างานที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นงานโครงการพิเศษ หรืองานของหน่วยงานอื่น ก็มีความจำเป็นต้องมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย

                    3.5 การวิเคราะห์ผลงานที่ผ่านมาเพื่อประกอบการกำหนดกรอบอัตรากำลังเป็นการนำผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของแต่ละส่วนราชการและพันธกิจขององค์กรมายึดโยงกับจำนวนกรอบอัตรากำลังที่ต้องใช้สำหรับการสร้างผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ให้ได้ตามเป้าหมาย โดยสมมติฐานที่ว่า หากผลงานที่ผ่านมาเปรียบเทียบกับผลงานในปัจจุบันและในอนาคตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ  อาจต้องมีการพิจารณาแนวทางในการกำหนด/เกลี่ยอัตรากำลังใหม่  เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและสนับสนุนการทำงานตามภารกิจของส่วนราชการและองค์กรอย่างสูงสุด

                    3.6 การวิเคราะห์ข้อมูลจากความคิดเห็นแบบ 360 องศา เป็นการสอบถามความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือนำประเด็นต่างๆ อย่างเรื่องการบริหารงาน งบประมาณ คน มาพิจารณาอย่างน้อยใน 3 ประเด็นดังนี้

                             3.6.1 เรื่องพื้นที่และการจัดโครงสร้างองค์กร  เนื่องจากการจัดโครงสร้างองค์กรและการแบ่งงานในพื้นที่นั้นจะมีผลต่อการกำหนดกรอบอัตรากำลังเป็นอย่างมาก เช่น หากกำหนดโครงสร้างที่มากเกินไปจะทำให้เกิดตำแหน่งงานขึ้นตามาอีกไม่ว่าจะเป็นงานหัวหน้าฝ่าย งานธุรการ สารบรรณและบริหารทั่วไปในส่วนราชการนั้น  ซึ่งอาจมีความจำเป็นต้องทบทวนว่าการกำหนดโครงสร้างในปัจจุบันของ           แต่ละส่วนราชนั้นมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด

                             3.6.2 เรื่องการเกษียณอายุราชการ เนื่องจากหลายๆ ส่วนราชการในปัจจุบันมีข้าราชการสูงอายุจำนวนมาก  ดังนั้น อาจต้องมีการพิจาณาถึงการเตรียมการเรื่องกรอบอัตรากำลังที่จะรองรับการเกษียณอายุของข้าราชการ  ทั้งนี้  ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ การปรับตำแหน่งที่เหมาะสมขึ้นทดแทนตำแหน่งที่จะเกษียณอายุไป เป็นต้น

                             3.6.3 ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ภายในส่วนราชการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับส่วนราชการนั้น ๆ ผ่านการส่งแบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ซึ่งมุมมองต่าง ๆ อาจทำให้การกำหนดกรอบอัตรากำลังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.7 การพิจารณาเปรียบเทียบกับกรอบอัตรากำลังขององค์กรอื่นๆ กระบวนการนี้เป็นกระบวนการนำข้อมูลของอัตรากำลังในหน่วยงานที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกัน  เช่น การเปรียบเทียบจำนวนกรอบอัตรากำลังของงานการเจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล ก. และงานการเจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล ข.  ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบคล้ายกัน  โดยสมมติฐานที่ว่าแนวโน้มของการใช้อัตรากำลังของแต่ละองค์กรในลักษณะงานและปริมาณงานแบบเดียวกันน่าจะมีจำนวนและการกำหนดตำแหน่งคล้ายคลึงกันได้

 

-5-

 

 

3.7 การพิจารณาเปรียบเทียบกับกรอบอัตรากำลังขององค์กรอื่น ๆ กระบวนการนี้เป็นกระบวนการนำข้อมูลของอัตรากำลังในหน่วยงานที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกัน เช่น การเปรียบเทียบจำนวนกรอบอัตรากำลังของงานการเจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล ก และงานการเจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล ข โดยสมมติฐานที่ว่าแนวโน้มของการใช้อัตรากำลังของแต่ละองค์กรในลักษณะงานและปริมาณงานแบบเดียวกันน่าจะมีจำนวนและการกำหนดตำแหน่งคล้ายคลึงกันได้

                    3.8 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแผนการพัฒนาข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นทุกคน โดยต้องได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

                    การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดกรอบอัตรากำลังไม้มุ่งเน้นในการเพิ่ม เกลี่ย หรือลดจำนวนกรอบอัตรากำลังเป็นสำคัญ  แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ส่วนราชการมีแนวทางในการพิจารณากำหนดกรอบอัตรากำลังที่เป็นระบบมากขึ้น  นอกจากนั้นยังมีจุดมุ่งเน้นให้ส่วนราชการพิจารณาการกำหนดตำแหน่ง                ที่เหมาะสม  (Right Jobs)  มากกว่าการเพิ่ม/ลดจำนวนตำแหน่ง  ตัวอย่างเช่น  การวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้วพบว่าการกำหนดกรอบตำแหน่งในประเภททั่วไปอาจมีความเหมาะสมน้อยกว่าการกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการในบางลักษณะงาน ทั้งๆ ที่ใช้ต้นทุนไม่แตกต่างกันมาก  รวมถึงในการพิจารณาที่กระบวนการทำงานก็พบว่าเป็นลักษณะงานในเชิงการวิเคราะห์ในสายอาชีพมากกว่างานในเชิงปฏิบัติงาน และส่วนราชการอื่นก็กำหนดตำแหน่งในงานลักษณะนี้เป็นตำแหน่งประเภทวิชาการ  ถ้าเกิดกรณีเช่นนี้ก็น่าจะมีเหตุผลเพียงพอที่จะกำหนดกรอบอัตรากำลังในลักษณะงานนี้เป็นตำแหน่งประเภทวิชาการ  โดยไม่ได้เพิ่มตำแหน่งของส่วนราชการเลย โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า กรอบแนวคิดการวิเคราะห์อัตรากำลัง                 (Effective Man Power Planning Framework)  นี้จะเป็นแนวทางให้ส่วนราชการสามารถมีข้อมูลเชิงวิเคราะห์อย่างเพียงพอในการที่จะอธิบายเหตุผลเชิงวิชาการสำหรับการวางแผนกรอบอัตรากำลังที่เหมาะสมตามภารกิจงานของแต่ละส่วนราชการ  นอกจากนั้นการรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการดังกล่าวจะทำให้ส่วนราชการ สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในเรื่องอื่นๆ เช่น

·       การใช้ข้อมูลที่หลากหลายจะทำให้เกิดการยอมรับได้มากกว่าโดยเปรียบเทียบหากจะต้องมีการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างหน่วยงาน

·       การจัดทำกระบวนการจริง (Work process) จะทำให้ได้เวลามาตรฐานที่จะสามารถนำไปใช้ วัดประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคลได้อย่างถูกต้อง รวมถึงในระยะยาวส่วนราชการสามารถนำผลการจัดทำกระบวนการและเวลามาตรฐานนี้ไปวิเคราะห์เพื่อการปรับปรุงกระบวนการ (Process  Re-engineer) อันจะนำไปสู่การใช้อัตรากำลังที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

·       การเก็บข้อมูลผลงาน จะทำให้สามารถพยากรณ์แนวโน้มของภาระงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในอนาคตต่อส่วนราชการในการเตรียมปรับยุทธศาสตร์ในการทำงาน เพื่อรองรับภารกิจที่จะเพิ่ม/ลดลง

 

 

 

 

 

 

 

 

-6-

 

 

แผนผังลําดับงาน: กระบวนการสำรอง: 4. สภาพปัญหาของพื้นที่และความต้องการของประชาชน

 

 


          การวิเคราะห์สภาพปัญหาในแต่ละด้านขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้

 

          องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้  ได้ดำเนินวิเคราะห์ปัญหา ตลอดจนแนวทางในแก้ไขปัญหา โดยมีกระบวนการกำหนด และวิธีการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลที่สอดคล้องกับพันธกิจ การจัดทำแผนงานต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล เช่น แผนชุมชน แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และ แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี แผนป้องกันและปราบปรามการทุจริต แผนการดำเนินงาน ฯลฯ ซึ่งคำนึงถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แนวนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมีการวางแนวทางในการพัฒนาไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่นำไปสู่การแปลงเป็นแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีอย่างเป็นรูปธรรม

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้  ได้มุ่งเน้นการพัฒนาในหลายๆ ด้านควบคู่กันไป ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สวัสดิการสังคม สังคมสงเคราะห์ สาธารณสุข                    ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการเมืองการบริหาร ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม                 ความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ได้จัดให้มีเวทีประชาคมหมู่บ้าน ประชาคมตำบล และการประชุมหารือในรูปแบบต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น บอกกล่าวถึงปัญหาและความต้องการของประชาชนในชุมชนของตน เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในชุมชน   ทั้งนี้เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ ประชาชน ในการบูรณาการการทำงานร่วมกัน  โดยปัญหาของชุมชนจากการเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน ประชุมประชาคมจัดทำแผน ได้มีการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล เพื่อมาวิเคราะห์และร่วมกันจัดหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน นั้น ทำให้ทราบได้ว่า ตำบลบ้องตี้ มีปัญหาที่จำเป็นต้องร่วมกันแก้ไข ในด้านต่างๆ

 

ความสอดคล้องของแผนพัฒนาท้องถิ่นกับแผนพัฒนาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี

 

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์จังหวัดกาญจนบุรี

ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างสุขภาวะ ความมั่นคง ความปลอดภัยและสังคมแห่งการเรียนรู้

          ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมอย่างครบวงจร

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์ และการท่องเที่ยวคุณภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ เขตเศรษฐกิจพิเศษและการค้าชายแดน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-7-

 

 

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ เสริมสร้างสุขภาวะ ความมั่นคง ความปลอดภัยและสังคมแห่งการเรียนรู้

กลยุทธ์การพัฒนา

๑. พัฒนาระบบการบริหารจัดการและการให้บริการด้านสาธารณสุขอย่างครบวงจรและทั่วถึง 

๒. พัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างทุนทางสังคมชุมชนเข้มแข็ง

๓. ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง

๔. เสริมสร้างระบบความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลในทุกมิติ

๕. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีความรู้ด้านการบริหารจัดการด้านสาธารณภัย

๖. พัฒนาประสิทธิภาพการศึกษาตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน

๗. พัฒนาจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน งานประกันสังคมมุ่งให้ผลสัมฤทธิ์

๘. ส่งเสริมการมีงานทำของแรงงานในระบบและนอกระบบอย่างยั่งยืน

๙. ส่งเสริมและต่อยอดโครงการตามพระราชดำริฯ

 

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ส่งเสริมการพัฒนาระบบเกษตรกรรมอย่างครบวงจร

กลยุทธ์การพัฒนา

๑. ส่งเสริมและพัฒนาระบบข้อมูล แผนพัฒนาการเกษตร ระบบสารสนเทศการเกษตร ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทพื้นที่

๒. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบชลประทานเพื่อการเกษตรและการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อการเกษตรให้เหมาะสมครอบคลุมทุกพื้นที่

๓. ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย เพื่อพัฒนาการเกษตร โดยใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมร่วมกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่

๔. ส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรและสถาบันเกษตรกร

๕. ส่งเสริมและพัฒนาการผลิต อาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัย การแปรรูป การจำหน่ายให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๖. ส่งเสริมบุคลากร (ภาครัฐ) ด้านการเกษตรให้เป็น Smart Officer

๗. ส่งเสริมช่องทางการตลาดของสินค้าเกษตร

 

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์ และการท่องเที่ยวคุณภาพ

กลยุทธ์การพัฒนา

๑. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว

๒. สำรวจ วิจัย และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่

๓. ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเดิมอย่างสมดุลและยั่งยืน

๔. ส่งเสริมสินค้าและบริการการท่องเที่ยวมุ่งสู่มาตรฐานสากล

๕. ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมด้านการตลาดยุคใหม่

๖. เสริมสร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว

 

 

 

-8-

 

 

๗. ส่งเสริมอัตลักษณ์ ว

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง