หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ประจำปี2564

1 ตุลาคม 2563
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

 

 

 

 
  ม้วนกระดาษแนวนอน: แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้
อำเภอไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


คำนำ

 

                    ปัจจุบัน   องค์กรต่าง ๆ จะต้องเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง   ที่เกิดขึ้น  สำหรับหน่วยงานภาครัฐภายใต้การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่มีการปรับเปลี่ยนทางโครงสร้าง  และการบริหารจัดการบุคลากรภาครัฐจะต้องได้รับการเพิ่มพูนความรู้   ความสามารถ  ทักษะ  และสมรรถนะให้สามารถปฏิบัติงานได้   ตามที่องค์กรคาดหวัง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา   ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๒๕  ประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ  ๒๖๙ และข้อ ๒๗๒   จึงกำหนดให้   ส่วนราชการมีหน้าที่เพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจให้แก่  ข้าราชการ  เพื่อให้   ข้าราชการ  มีคุณภาพ  คุณธรรม  มีคุณภาพชีวิต  มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจภาครัฐ  ซึ่งแนวทางการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจจะต้องสอดคล้องกับภารกิจ  วิสัยทัศน์   และ  ยุทธศาสตร์ของแต่ละหน่วยงาน  รวมทั้งยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการตลอดจนความจำเป็นในการพัฒนาของ   ข้าราชการในแต่ละกลุ่มและผลการประเมินการปฏิบัติราชการของข้าราชการด้วย  การพัฒนาบุคลากร  จึงถือเป็น หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้  จึงได้กำหนดการพัฒนาบุคลากรรายบุคคลไว้ในแผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรโดยเห็นว่าการพัฒนาบุคลากรรายบุคคลเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้บุคลากรได้พัฒนาขีดสมรรถนะ   ในการปฏิบัติงานให้สูงขึ้นเพื่อตอบสนอง   ความต้องการขององค์กร   ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยเครื่องมือที่ไม่ใช่การฝึกอบรมในห้องเรียน  เช่น  การมอบหมายงาน  การเรียนรู้ด้วยตนเอง  การให้คำปรึกษาแนะนำ  การเป็นพี่เลี้ยง  เป็นต้น  จึงได้จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (Individual Development Plan: IDP)

 

 

 

 

 

 

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้

สารบัญ

 

                                                                                       หน้า

 

บทที่ 1  บทนำ

      หลักการและเหตุผล                                                                              1

      วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนา                                                  3

      ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร                                                              5

      เป้าหมาย                                                                                11

      ขอบเขตและแนวทางในการจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากร                           11

      ขั้นตอนการดำเนินงานการ                                                             13

     

บทที่ 2   แนวทางการพัฒนาบุคลากร                                                      

      แนวทางการพัฒนาบุคลากร                                                            16

      หลักสูตรการพัฒนา                                                                     17

      เครื่องมือการพัฒนาบุคลากร                                                           17

      ลักษณะเฉพาะของเครื่องมือการพัฒนาบุคลากร                             18

      แผนพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้                              24

 

ภาคผนวก

รายละเอียดของเกณฑ์ที่คาดหวังของตำแหน่ง

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร  ประจำปี งบประมาณ  พ.ศ. 2564 – 2567

รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2567

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 1

ความจำเป็นวัตถุประสงค์และความหมาย

 

๑.๑ ความจำเป็น

                การพัฒนาองคกรใหเปนองคกรที่มีศักยภาพ สามารถแขงขันได ทั้งในระดับพื้นที่ และระดับสากลเปนสิ่งที่มีความจำเปนอย่างยิ่งในปจจุบัน ซึ่งเปนยุคแหงการแขงขันไรพรมแดน(Globalization) โดยต้องอาศัยความรูความสามารถของบุคลากร องคความรูและการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล คือ ปัจจัยสำคัญที่จะชวยใหองค์กรมีการพัฒนาสูความเปนเลิศได้

                องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้  จึงเห็นความสําคัญอยางยิ่งตอปจจัยดังกลาว ดังนั้นขาราชการหรือพนักงาน ซึ่งเปนบุคลากรในหนวยงานตองเปนบุคลากรที่มีความรู ความสามารถ ทั้งทางดานวิชาการ เทคโนโลยี ที่เกี่ยวของ ดานเศรษฐกิจ การเมือง โดยตองอาศัยกฎ ระเบียบ ขอบังคับตางๆ เปนแนวทางในการปฏิบัติงานในหนาที่ จึงมีความจําเปนอยางยิ่งที่ตองจัดทําแผนพัฒนาบุคลากรใหมีประสิทธิภาพ และมีระบบการบริหารจัดการภายในองคกรใหทันสมัย และมีมาตรฐานของการใหบริการประชาชนทุก ๆ ดานรวมทั้งเปนการเพิ่มทักษะ ความรูใหทันกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม ๆ มีความรูทางดานเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และสามารถนํามาใชในการปฏิบัติงานในองคกรไดอยางมีประสิทธิภาพ

                  ความจำเป็นในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคคล เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา   ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๒๕  ประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้อ  ๒๖๙ และข้อ ๒๗๒   มีเจตนารมณ์สำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงมุมมองของระบบบริหารข้าราชการจากเดิมที่เน้นพัฒนาข้าราชการให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาเป็นการให้ข้าราชการเป็นผู้รู้รอบ   รู้ลึกและเป็นแรงผลักดันต่อความสำเร็จขององค์กร   รวมทั้งให้ข้าราชการ  ปฏิบัติงาน  โดยมุ่งเน้นที่ประชาชนและผลสัมฤทธิ์ของงานข้าราชการ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ จึงต้องปรับเปลี่ยนบทบาท  วิธีคิด  และวิธีปฏิบัติงานรวมถึงการพัฒนาความรู้   ความสามารถของตนเองให้สามารถตอบสนองต่อ   ภารกิจขององค์กรได้อย่างรวดเร็ว   และมีประสิทธิภาพ  โดยมุ่งเน้นการนำหลักสมรรถนะมาประกอบในการบริหาร   และพัฒนาทรัพยากรบุคคล  เพื่อให้บุคลากรมีพื้นฐานสมรรถนะตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ กำหนดด้วยเหตุนี้  องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการในเรื่องการพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคลเพื่อ   เพิ่มพูนประสิทธิภาพให้แก่ข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ หากมีการดำเนินการตามกระบวนการพัฒนา   รายบุคคลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องแล้ว   บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ จะมีคุณภาพคุณธรรม  จริยธรรม  สามารถปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจที่ได้รับมอบหมาย  อันจะมีผลเชื่อมโยงไปสู่การประเมินผลการ  ปฏิบัติงานและการเลื่อนขั้นเงินเดือนทำให้บุคลากรมีขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ต่อองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ ยิ่งขึ้นต่อไป  โดยที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ เป็นหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นที่มีข้าราชการตามกรอบ  โดยที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ เป็นหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นที่มีข้าราชการตามกรอบอัตรากาลัง  จำนวน  29 คน   แบ่งเป็น  8  สายงาน  องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ จึงจำเป็นต้องจัดทำคู่มือการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลขึ้น   เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้แก่ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานได้   นำไปดำเนินการเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้  ทักษะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์  โดยผ่านกระบวนการ ประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแนวทางที่คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล กำหนด   ได้แก่   การประเมินความสำเร็จของงานอันเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  แต่ละคนตลอด  รอบการประเมินด้วยวิธีการที่องค์กรกำหนดโดยเปรียบเทียบผลงานกับเป้าหมายกำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติ   ราชการ  ตามเกณฑ์มาตรฐานผลงานที่ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงานกำหนดร่วมกันไว้ตั้งแต่ต้นรอบการประเมิน 

               การประเมินผลการปฏิบัติราชการจะมาจากการพิจารณาองค์ประกอบหลักของการประเมิน  ๒ ส่วน ได้แก่  การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานและการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติราชการ  หรือสมรรถนะซึ่งทั้ง ๒ ส่วนนี้  นอกจากจะนำไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบของผู้ปฏิบัติงานแล้ว  ยังใช้เป็นข้อมูลในการปรึกษาหารือ  ร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติราชการและนำไปจัดทำแผนพัฒนาตัวผู้ปฏิบัติงานแต่ละรายหรือที่เรียกว่าการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (Individual  Development Plan: IDP)

               องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ จึงได้ กำหนดนโยบายส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพแก่บุคลากรตามความรู้ความสามารถอย่างเป็นธรรมเสมอภาคและชัดเจน   โดยให้จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ  คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบลในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการวางแผนและวางหลักเกณฑ์การ พัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   จึงได้จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (Individual Development Plan: IDP)เพื่อใช้พัฒนาข้าราชการส่วนท้องถิ่นกลุ่มนำร่องและได้จัดทำคู่มือการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล  (IDP) 

             เพื่อให้เป็นไปตามคำรับรองการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้จึงให้หน่วยงานต่างๆนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานต่อไป

๑.๒ วัตถุประสงค์

           ๑. เพื่อให้บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้เข้าใจถึงกระบวนการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล

           ๒. เพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลให้มีรูปแบบที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

          ๓. เพื่อผลักดันให้บุคลากรพัฒนาตนไปสู่เป้าหมายตามกลยุทธ์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ๔. เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมในการพัฒนาตนเองให้แก่บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่ข้าราชกาประเภทอำนวยการ  (ระดับต้น  ระดับกลาง ระดับสูง )  ประเภทวิชาการ  (ระดับปฏิบัติการ  ระดับชำนาญการ  ระดับชำนาญการพิเศษ  ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ )  ประเภททั่วไป  (ระดับปฏิบัติงาน  ระดับชำนาญงาน  ระดับอาวุโส)  ในแต่ละปีงบประมาณจะจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลให้สอดคล้องกับการประเมินสมรรถนะตามแบบสรุปกาประเมินผลการปฏิบัติราชการ จำนวน ๒ รอบ ดังนี้

 ๑) ตุลาคม-มีนาคม

 ๒) เมษายน-กันยายน

๑.๓ ความหมาย

            แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (Individual  Development  Plan  :  IDP)  หมายถึง  กรอบหรือแนวทางที่จะช่วยให้บุคลากรในหน่วยงานสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายในสายอาชีพของตน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาจุดอ่อน   (weakness)  และเสริมจุดแข็ง  (Strength)  ของบุคลากรในหน่วยงาน  และเป็นกระบวนการที่ผู้ปฏิบัติงานร่วมกับผู้บังคับบัญชากำหนดความจำเป็นในการพัฒนา   และฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเพื่อความสำเร็จของงาน   และองค์กร  เป็นแผนที่ระบุเป้าหมาย   และวิธีการในการพัฒนาตนเองที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ขององค์กร  และเป็นแผน  ที่ใช้ในการพัฒนาสมรรถนะของบุคคล   ให้มีสมรรถนะเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง ตามแนวทางความก้าวหน้าในสายงาน แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล หรือเรียกสั้น ๆ ในคู่มือเล่มนี้ว่า  IDP  จึงเป็นแผนสำหรับการพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมให้มีคุณสมบัติ   ความสามารถ  และศักยภาพในการท างานสำหรับตำแหน่งที่สูงขึ้น   ต่อไปในอนาคต  หรือตามเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ(Career Path)  ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้กำหนดขึ้น  ดังนั้น  IDP  จึงไม่ใช่ กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน  (Performance Appraisal)  เพื่อการเลื่อนตำแหน่งงานหรือการปรับเงินเดือนและการให้ผลตอบแทนในรูปแบบต่าง  ๆ  แต่เมื่อได้มีการดำเนิน  กิจกรรม  ตามกรอบ  IDP  อย่างเป็นระบบบนเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของระดับความรู้   ความสามารถ  หรือสิ่งที่ ผู้บังคับบัญชาคาดหวัง มีการพูดคุยสื่อสารแบบสองทาง  เป็นข้อผูกพันหรือข้อตกลงในการเรียนรู้ร่วมกัน  IDP  ก็จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเชื่อมโยงความต้องการของบุคลากรให้ตอบรับหรือตอบสนองต่อความต้องการใน   ระดับหน่วยงานย่อย  และส่งผลให้บรรลุเป้าหมายขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ได้   แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล  จึงเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้   ทักษะ  และพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่นำไปสู่การพัฒนาผลงานที่มีประสิทธิภาพ   (ทำให้บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้เป็นคนเก่งและดี )

                  บุคลากร หมายถึง ข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ การประเมินผลการปฏิบัติราชการ  (Performance Appraisal)  หมายถึง การประเมินความสำเร็จของงาน  อันเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานตลอดรอบการประเมินด้วยวิธีการที่องค์กรกำหนด   โดยเปรียบเทียบผลงานกับเป้าหมายที่กำหนดไว้   ในแผนการปฏิบัติราชการตามเกณฑ์มาตรฐานผลงานที่ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงานกำหนดร่วมกันไว้   ตั้งแต่ต้นรอบการประเมิน   การประเมินผลการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้จะมาจากการพิจารณาองค์ประกอบหลักของการประเมิน  ๒  ส่วน  ได้แก่ การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานและการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติราชการหรือสมรรถนะสำหรับการให้คะแนนกาประเมินผลการปฏิบัติราชการ  องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ ได้จัดกลุ่มระดับคะแนนเป็น  ๕  ระดับ  ได้แก่ดีเด่น  ดีมาก  ดี   พอใช้   ต้องปรับปรุง  ซึ่งคะแนนของกลุ่มต้องปรับปรุง คือ ผู้ที่ได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ  ๖๐  คะแนนที่ได้มาจากผลรวมของคะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานกับคะแนนการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติราชการหรือสมรรถนะ ทั้ง  ๒  ส่วน จะนำไปใช้ประกอบการพิจารณาความดีความชอบของผู้ปฏิบัติงานและเป็นข้อมูลในการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติราชการ ตลอดจนนำไปจัดทำแผนพัฒนาตัวผู้ปฏิบัติงานแต่ละราย โดยสามารถสรุปเป็นแผนภาพได้ดังต่อไปนี้

              สมรรถนะ (Competency)  หมายถึง  คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ความสามารถทักษะ  และคุณลักษณะอื่นๆ ที่ทำให้บุคลากรสร้างผลงานได้โดดเด่นในองค์กร สมรรถนะหลักที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ กำหนดให้ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการได้แก่ สมรรถนะหลักข้าราชการส่วนท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบลกำหนด  ประกอบด้วยสมรรถนะ ๕ ด้าน ได้แก่

  1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement  Motivation) หมายถึง  ความมุ่งมั่นจะปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ดี

หรือให้เกินมาตรฐานที่มีอยู่ โดยมาตรฐานนี้อาจเป็นผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของตนเอง หรือเกณฑ์วัดผลสัมฤทธิ์ที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น อีกทั้งยังหมายรวมถึงการสร้างสรรค์พัฒนาผลงานหรือ กระบวนการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่ยากและท้าทายชนิดที่อาจไม่เคยมีผู้ใดสามารถกระทำได้มาก่อน

           ๒. การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม (Integrity)  หมายถึง การดำรงตน และประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสมทั้งตามกฎหมาย คุณธรรม จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพและจรรยาข้าราชการเพื่อรักษาศักดิ์ศรีแห่งความเป็นข้าราชการ

          ๓.  ความเข้าใจในองค์กรและระบบงานการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise)  หมายถึงความสนใจใฝ่รู้ การสั่งสมความรู้ความสามารถของตนในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยการศึกษา ค้นคว้าและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องจนสามารประยุกต์ใช้ความรู้เชิงวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆเข้ากับการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์

            ๔.การบริการเป็นเลิศ-การบริการที่ดี (Service  Mind)  หมายถึง ความตั้งใจและความพยายามของ

ข้าราชการในการให้บริการต่อประชาชน ข้าราชการ หรือหน่วยงานอื่นๆ ทีเกี่ยวข้อง

           ๕.การทำงานเป็นทีม(Teamwork)  หมายถึง  ความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นส่วนหนึ่งของทีมหน่วยงานหรือส่วนราชการ โดยผู้ปฏิบัติมีฐานะเป็นสมาชิกไม่จำเป็นต้องมีฐานะหัวหน้าทีม รวมทั้งความสามารถในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับสมาชิกในทีม

               ระดับสมรรถนะที่องค์กรคาดหวัง  เป็นระดับสมรรถนะที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินสมรรถนะของข้าราชการจำแนกตามประเภทและระดับตำแหน่งโดยการประเมินสมรรถนะของข้าราชการจะต้องประเมินเปรียบเทียบสมรรถนะที่ข้าราชการมีอยู่จริงกับเกณฑ์ระดับสมรรถนะที่องค์กรคาดหวัง สำหรับแต่ละสมรรถนะตามตารางระดับความคาดหวังของสมรรถนะ ดังนี้

             มาตรวัดระดับการประเมินสมรรถนะ  การประเมินสมรรถนะของข้าราชการ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้จะใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการให้คะแนนประเมินผลการปฏิบัติราชการในส่วนของผลการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติราชการหรือสมรรถนะใช้มาตรวัดการประเมินสมรรถนะตามวิธีการพิจารณาสัดส่วนพฤติกรรมที่แสดงออกต่อพฤติกรรมที่คาดหวัง โดยมาตรวัดแบบนี้ใช้ประเมินว่าผู้รับการประเมินได้แสดงสมรรถนะตามที่กำหนดมากน้อยเพียงใด คิดเป็นสัดส่วนมากน้อยอย่างไรเมื่อเทียบกับระดับพฤติกรรมที่คาดหวัง ซึ่งถ้าผู้รับการประเมินแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังมากก็จะได้คะแนนประเมินสูง

               พจนานุกรมสมรรถนะ(Competency Dictionary) หมายถึง  การรวบรวมคำอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนสมรรถนะด้านต่างๆ และนำพฤติกรรมที่ระบุนั้นมาใช้  เป็นเกณฑ์ประเมินสมรรถนะของบุคคลประโยชน์ของแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล  (IDP)  ประโยชน์ของแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลแบ่งเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับรายบุคคล  ระดับหน่วยงาน  (สำนัก/  กอง/  สำนักงาน)  หรือหัวหน้างาน  และระดับองค์กร (องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้) ดังนี้

      ระดับรายบุคคล

          แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลช่วยปรับปรุง(To Improve)  ความสามารถเดิมที่มีอยู่  และปรับปรุงผลงานที่บุคคลรับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

           แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลช่วยให้ เกิดการพัฒนา (To  Develop) อย่างต่อเนื่องซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาความสามารถเดิมที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มศักยภาพการทำงานของบุคลากรให้มีความสามารถที่จะรับผิดชอบงานที่สูงขึ้น          

            แผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลช่วยให้บุคลากรมีความพร้อม  (To  Prepare)  ในการท างานในตำแหน่งที่    

            สูงขึ้นระดับหน่วยงาน  (สำนัก/ กอง/ สำนักงาน)  หรือหัวหน้างานการทดแทนงาน(Work  Replacement) บุคลากรเกิดทักษะในการท างานหลายด้าน (Multi  Skills)  ทำให้สามารถทำงานทดแทนกันได้ในกรณีที่เจ้าของงานเดิมไม่อยู่หรือโอนย้ายไปที่อื่น

              ผลงานของหน่วยงาน(Department  Performanceการที่บุคลากรมีการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถอย่างต่อเนื่อง ทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้ดีขึ้น ทำให้ผลงานของหน่วยงานระดับสำนัก/กอง/ สำนักงาน ก็ดีขึ้นตามไปด้วย

              คุณภาพชีวิตการทำงาน(Quality of Work Life) หัวหน้างานที่มีลูกน้องทำงานดีมีความสามารถทำให้มีการวางแผนบริหารจัดการการทำงานได้ดี  (ไม่ต้องเสียเวลามากในการจัดการงาน ) ซึ่งถือเป็นการรักษาสมดุลในการทำงานกับชีวิตส่วนตัว ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย  หมายความว่า  หากหัวหน้างานสามารถจัดการงานที่ทำได้เป็นอย่างดี  จะทำให้มีเวลามากพอที่จะไปจัดการกับชีวิตส่วนตัวได้

           ระดับองค์กร (องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้)ผลงานขององค์กร  (Corporate  Performance)  การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล ทำให้บุคลากรมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องทำให้สัมฤทธิผลของหน่วยงานเป็นไป   ตามเป้าหมายซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ โดยรวมด้วยเช่นกัน

          การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร  (Corporate  Branding)  บุคลากรที่มีความสามารถมีส่วนช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ ในด้านการพัฒนาบุคลากรภายในต่อบุคคลภายนอกนอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยให้บุคลากรภายในมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรมีความรักและผูกพันกับองค์กร ด้วย

          ความได้เปรียบในการแข่งขัน(Competitive  Advantage)  การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องทำให้บุคลากรมีผลการปฏิบัติงานที่ดีส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร ซึ่งทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันกับหน่วยงานภายนอก

       บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องและบทบาท /หน้าที่ความรับผิดชอบ

 บุคคลในแต่ละกลุ่มมีบทบาทและขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร รายบุคคลของ

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้  ดังนี้

 

 

๑) ผู้บริหาร

          - สนับสนุนและผลักดันให้ผู้บริหารและบุคลากรปฏิบัติตามแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล  (IDP)ตามที่กำหนดขึ้น

          -  อนุมัติให้การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล   (IDP)  เป็นกระบวนการหนึ่งที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทุกปี

          -  ติดตามผลการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลระหว่างผู้บังคับบัญชากับบุคลากรพร้อมทั้งการนำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (IDP) ไปใช้ปฏิบัติจริง

          - จัดสรรงบประมาณในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง

๒) ผู้บังคับบัญชาที่มีผู้ใต้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างาน

          - ทำความเข้าใจกับกระบวนการและวัตถุประสงค์ของการจัดทำ  IDP

          - ปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนของ IDP ที่กำหนดขึ้น

          -  ประเมินขีดความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา   เพื่อค้นหาจุดแข็งและจุดอ่อนของบุคลากรในงานที่มอบหมายให้รับผิดชอบในปัจจุบัน

          - ทำความเข้าใจถึงแหล่งหรือช่องทางการเรียนรู้เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรเป็นรายบุคคล

          - กำหนดแนวทางหรือช่องทางการพัฒนาตนเองที่เหมาะสมกับบุคลากร

          - ให้ข้อมูลป้อนกลับแก่บุคลากรถึงจุดเด่นและจุดที่บุคลากรต้องพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น

          - ชี้ให้บุคลากรเห็นขอบเขตที่เขาสามารถเพิ่มความรับผิดชอบมากขึ้น

          - หาโอกาสความก้าวหน้าในสายอาชีพให้กับบุคลากรในงานปัจจุบันหรืองานอื่นๆที่มีอยู่ในองค์การบริหารส่วน

ตำบลบ้องตี้

๓) บุคลากร/ เจ้าหน้าที่มีส่วนร่วมในการประเมินความสามารถของตนเองตามความเป็นจริง

          - ทำความเข้าใจแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล  (IDP) ที่ผู้บังคับบัญชากำหนดขึ้นด้วยความเต็มใจและตั้งใจ

          - ร่วมกับหัวหน้างานกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการพัฒนาตนเอง

          - หาวิธีการในการทำให้เป้าหมายในสายอาชีพของตนเองและผลงานที่รับผิดชอบประสบความสำเร็จ

          - ประเมินความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองและเต็มใจที่จะรับรู้ผลการพัฒนาความสามารถของตนเองจากผู้อื่น

๔) การพัฒนาข้าราชการส่วนท้องถิ่น 

          - นำเสนอโครงการให้ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ เห็นด้วยกับการนำเอา IDPมาใช้ในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้

          - จัดเตรียมแบบฟอร์มการทำ IDP ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันภายในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ 

          - ออกแบบและปรับปรุงระบบการพัฒนาบุคลากรรวมถึงบูรณาการ IDP กับเครื่องมือการบริหารบุคคลในเรื่องอื่นๆ

          - ให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดทำ  IDP แก่ผู้บริหารทุกส่วนราชการภายในและบุคลากรทั่วทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้

          - ให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล IDP กับผู้บริหารและบุคลากร

          - ตอบข้อซักถามเกี่ยวกับวิธีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล  IDP

          - หาช่องทางในการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์เปลี่ยน  Mindset หรือจิตสำนึกของผู้บริหารและบุคลากรในการจัดทำIDP

          - ติดตามผลการปฏิบัติตามแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล IDP จากผู้บริหารและบุคลากร

 

 

 

บุคคลในแต่ละกลุ่มมีบทบาทและขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ  ดังตารางต่อไปนี้

 

กลุ่มบุคคล

บทบาท/หน้าที่ความรับผิดชอบ

ผู้บริหารระดับสูง

- สนับสนุนและผลักดันใหผูบริหารและบุคลากรปฏิบัติตาม IDP ตามที่กําหนดขึ้น

- อนุมัติใหการจัดทํา IDP เปนกระบวนการหนึ่งที่ผูบังคับบัญชาจะตองปฏิบัติ

   อยางตอเนื่องทุกป

- ติดตามผลการจัดทํา IDP ระหวางผูบังคับบัญชากับบุคลากร พรอมทั้งการนํา

   แผน IDP ไปใชปฏิบัติจริง

- จัดสรรงบประมาณในการฝกอบรมและพัฒนาบุคลากรในแตละปอยางตอเนื่

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง