ประชาสัมพันธ์การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี2564และการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
1 เมษายน 2564ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
ที่ สป /2564 วันที่ เมษายน 2564
เรื่อง รายงานผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ประจำปี.............งบประมาณ พ.ศ.2564…….
เรียน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้
1.เรื่องเดิม
ด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 ให้หน่วยงานเข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment:ITA) ซึ่งเป็นเกณฑ์การประเมินที่ต้องการให้หน่วยงานของรัฐยกระดับการดำเนินของหน่วยงาน โดยมีประเมินในด้านการต่อต้านการทุจริตในองค์กรเกี่ยวกับการดำเนินงาน เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงาน โดยมีการประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Based) ให้มีการดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตรวจสอบได้ การแก้ไขปัญหาการกระทำผิดวินัยของเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นปัญหาสำคัญและพบบ่อย นอกจากนี้ ยังนำความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนที่ได้นี้มากำหนดเป็นคู่มือป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้เพื่อเป็นแนวทางและยึดถือปฏิบัติได้
2.ข้อเท็จจริง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ได้ดำเนินการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน ผ่านกิจกรรมต่างๆดังนี้
2.1 การสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้บุคลากรมีคุณธรรมจริยธรรมไม่กระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้มีการประกาศแสดงเจตจำนงสุจริต เสริมสร้างคุณธรรม และความโปร่งใสในการบริหารงานโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ได้ประกาศเจตจำนงว่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีในการและความโปร่งใส ปราศจากการทุจริต เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและความโปร่งใส่ ในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้และให้คำมั่นที่จะนำพาคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา พนักงานส่วนตำบล พนักงานครู ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างและบุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ทุกคน ให้ปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม ควบคู่กับการบริหารจัดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและร่วมมือและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
2.2 กฎระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การเงินและบัญชี โดยที่ในปัจจุบันกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามนโยบาย ทำให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานได้ จึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การเงินและบัญชี เข้ารับการอบรมเพื่อลดข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน และลดโอกาสที่มีความเยงในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนได้
2.3 การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment:ITA) เพื่อให้บุคลากรในสังกัดองค์การบริการส่วนตำบลบ้องตี้ ได้เข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินและการยกระดับการทำงาน รวมทั้งเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบการประเมินให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ จึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมซักซ้อมทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าว
2.4 การวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน
2.4.1 การให้ความรู้ในรู้แบบต่างๆ ดังนี้
-การจัดทำคู่มือ ได้ทำ คู่มือการพัฒนาส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม การบริหารจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน เพื่อสร้างความเข้าใจแก่บุคคลากรและให้หลีกเลี่ยงการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน โยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวคิด/ความหมายของผลประโยชน์ทับซ้อน และสาระเกี่ยวกับประเภทหรือรูปแบบที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน และกรณีตัวอย่างการทุจริตในรูปแบบต่างๆ
-การจัดการความรู้ (Knowledge management) โดยการนำคู่มือกังกล่าว ถ่ายทอดผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในประชุมประจำเดือน และเผยแพร่ในเว็ปไซด์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้
2.4.2 การดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดประโยชน์ทับซ้อน จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงสามารถจำแนกระดับความเสี่ยงออกเป็น 4 ระดับ สูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ และสามารถสรุปข้อมูลการสิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดประโยชน์ทับซ้อนขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ได้ดังนี้
การวิเคราะห์ความเสี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน
ประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน |
มีการทับซ้อนอย่างไร |
โอกาสเกิดการทุจริต(1/4) |
ระดับของผลกระทบ(1-4) |
มาตรการป้องกันความเสี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน |
การจัดซื้อจัดจ้าง |
หัวหน้า/จนท.พัสดุเลือกซื้อร้านที่ตนเองสนิทหรือเป็นญาติหรือร้านที่ตนเองคุยได้ง่าย |
4 |
4 |
-ปรับเปลี่ยนร้านค้าในการจัดซื้อวัสดุ -เข้มงวดในการตรวจรับพัสดุหรือการจ้าง |
การจัดโครงการ/กิจกรรม |
มีการเลือกพื้นที่ในการจัดโครงการ/กิจกรรมเจ้าหน้าที่คุ้นเคยเป็นการส่วนตัว |
4 |
4 |
-พิจารณาพื้นที่ที่ประสบปัญหาและมีความจำเป็นลำดับแรก
|
การบริหารงานบุคคล |
มีการรับบุคคลที่เป็นเครือญาติหรือบุคคลที่ตนเองได้รับผลประโยชน์เข้าทำงาน |
4 |
4 |
-มีการประกาศรับสมัครและดำเนินการคัดเลือกอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ |
การนำทรัพย์สินของราชการมาใช้ในเรื่องส่วนตัว |
เช่นการใช้อุปกรณ์สำนักงานต่างๆ รถ ไฟฟ้า ฯลฯ |
4 |
4 |
-มีการทำทะเบียนควบคุมการใช้งานและการเบิกจ่ายอย่างเคร่งครัด |
ประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน |
มีการทับซ้อนอย่างไร |
โอกาสเกิดการทุจริต(1/4) |
ระดับของผลกระทบ(1-5) |
มาตรการป้องกันความเสี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน |
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ |
เจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้นำเงินที่ลูกหนี้กองทุนต่างๆฝากมาชำระให้กับการเงิน แต่กลับนำเงินไปใช้ส่วนตัว |
4 |
4 |
-ประชาสัมพันธ์ให้ลูกหนี้กองทุนต่างๆ มาชำระเงินด้วยตนเองและรับใบเสร็จทุกครั้ง |
การลงชื่อ เข้า-ออก เวลาปฏิบัติหน้าที่ |
การลงเวลาไม่ตรงตามความเป็นจริง |
4 |
4 |
-มีสมุดขออนุญาตไปพื้นที่อื่น |
การลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง(Case) -การใช้รถ -การใช้คน |
การใช้จัดสรรทรัพยากรนำไปใช้มากเกินความจำเป็นในแต่ละภารกิจ เช่นนำมันมากเกินความเกินความจำเป็น |
4 |
4 |
-มีการบันทึกการใช้ต่างๆ -มีการรายงานทุกครั้ง -สร้างจิตสำนึก คุณธรรม จริยธรรม -ใช้งานตามความเป็นจริง |
การจัดประชุม ดูงาน สัมมนา ต่างๆ |
ผู้รับผิดชอบโครงการมีสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับเจ้าของกิจการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานที่ |
2 |
1 |
-สถานที่ มีความเหมาะสมกับงบประมาณ -วิทยาการมีความรู้ความเหมาะสมกับงานหรือโครงการนั้นๆ |
การออกใบอนุญาตหรือการรับรองสิทธ์ |
หัวหน้าหน่วยงาน เจ้าหน้าที่มีญาติหรือคนรู้จักที่มายื่นขอใบรับรองหรือใบอนุญาตนั้นๆ |
3 |
3 |
-ผู้ปฏิบัติต้องทำตามกฎระเบียบโดยมีความเป็นกลาง |
2.5 การจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประจำปี 2564
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเป็นหน่วยของรัฐที่ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินการตามมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุรจิตประพฤติชอบในหน่วยงานราชการและดำเนินการสร้างจิตสำนึกพนักงานส่วนตำบลและบุคลากรในสังกัดรังเกียจการทรุจริตทุกรูปแบอย่างจริงจังโดยมีกระบวนการดำเนินการที่สำคัญเป็นแนวทางและข้อเสนอแนะที่จะนำไปปรับปรุงแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทรุจริต ประจำปี 2564 ดังนี้
2.5.1 ส่งเสริมให้มีการรณรงค์และสร้างความตะหนักคุณธรรม จริยธรรมและการป้องกันและปราบปรามการทรุจริตให้กับพนักงานส่วนตำบล และบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านกระบวนการฝึกอบรม การประกาศแนวทางการปฏิบัติงาน การมอบนโยบายของผู้บริหารและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
2.5.2 การวางแนวทางและมาตรการการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อเป็นกลไกลในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือผลประโยชน์ทับซ้อนได้ รวมทั้งการจัดส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างเข้ารับการฝึกอบรม เพื่อให้การปฏิบัติงานถูกต้อง มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสอดคล้องกับระเบียบ กฎเกณฑ์ใหม่ๆ
2.5.3การจัดทำคู่มือการพัฒนาส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม การบริหารจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การทุจริต ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน กรณีศึกษาการทุจริตในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง มีการวิเคราะห์ปัจจัยการเกิดการทุจริต การเกิดผลกระทบต่อประชาชน
2.5.4 การสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ให้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้เกิดความร่วมมือเป็นผู้เฝ้าระวัง การแจ้งเบาะแส และมีสื่อรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจในนโยบายผู้บริหาร ซึ่งเน้นการปล่อยทุรจิตเพื่อให้เกิดพลังที่เข้มแข็งในการช่วยกันป้องกันการทุจริต
3.ข้อเสนอแนะเพื่อพิจารณา
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและพิจารณาให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ ดำเนินการตามแนวข้อ 2.4 ต่อไป
รายละเอียดตามตัวอย่างเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้
นายสมบัติ รักษา
(นายสมบัติ รักษา)
หัวหน้าสำนักปลัด
ความเห็นของปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้
.............................................................................................................................................................................
นายวิกรม แก้วเพชร
(นายวิกรม แก้วเพชร)
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้
ความเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลดงพระราม
............................................................................................................................................................................
นายนิทัศน์ ลูกอินทร์
(นายนิทัศน์ ลูกอินทร์)
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้
ส่วนที่ 1
บทนํา
1. การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการ บ่งชี้ความเสี่ยงของการทุจริตที่มีอยูในองค์กรโดยการประเมินโอกาสของการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนบุคคล หรือหน่วยงานที่อาจเกี่ยวข้องกับการกระทําทุจริต เพื่อพิจารณาว่าการควบคุมและการป้องกันการทุจริตที่มีอยู่ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่
การทุจริตในระดับท้องถิ่น พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของการทุจริตในระดับท้องถิ่น ได้แก่ การกระจายอํานาจลงสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แม้ว่าโดยหลักการแล้วการกระจายอํานาจมีวัตถุประสงค์ สําคัญเพื่อให้บริการต่าง ๆ ของรัฐสามารถตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ในทางปฏิบัติทําใหแนวโน้มของการทุจริตในท้องถิ่นเพิ่มมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน
ลักษณะการทุจริตในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จําแนกเป็น 7 ประเภท ดังนี้
1) การทุจริตด้านงบประมาณ การทําบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง และการเงินการคลัง ส่วนใหญ่เกิดจากการละเลยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) สภาพหรือปัญหาที่เกิดจากตัวบุคคล
3) สภาพการทุจริตอันเกิดจากช่องว่างของกฎระเบียบและกฎหมาย
4) สภาพหรือลักษณะปัญหาของการทุจริตที่เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจและขาดคุณธรรมจริยธรรม
5) สภาพหรือลักษณะปัญหาที่เกิดจากการขาดการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
6) สภาพหรือลักษณะปัญหาของการทุจริตที่เกิดจากการตรวจสอบขาดความหลากหลายในการตรวจสอบ จากภาคส่วนตางๆ
7) สภาพหรือลักษณะปัญหาของการทุจริตที่เกิดจากอํานาจ บารมี และอิทธิพลท้องถิ่น
สาเหตุและปัจจัยที่นําไปสู่การทุจริตขององค์กรปกครองสวนท้องถิ่นสามารถสรุปเป็นประเด็นได้ ดังนี้
1) โอกาส แม้ว่าในปัจจุบันมีหน่วยงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแต่พบว่า ยังคงมีช่องว่างที่ทําให้เกิดโอกาสของการทุจริต ซึ่งโอกาสดังกล่าวเกิดขึ้นจากการบังคับใช้ กฎหมายที่ไม่เข้มแข็ง กฎหมาย กฎระเบียบไม่รัดกุม และอํานาจหน้าที่โดยเฉพาะข้าราชการระดับสูงก็เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ทําให้เกิดการทุจริต
2) สิ่งจูงใจ เป็นที่ยอมรับว่าสภาวะทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นเรื่องของวัตถุนิยม สังคมทุนนิยม ทําให้คน ในปัจจุบันมุ้งเน้นที่การสร้างความร่ำรวย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่มีแนวโน้มที่จะทําพฤติกรรมการทุจริตมากยิ่งขึ้น
3) การขาดกลไกในการตรวจสอบความโปร่งใส การทุจริตในปัจจุบันมีรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นโดยเฉพาะการทุจริตในเชิงนโยบายที่ทําให้การทุจริตกลายเป็นความชอบธรรมในสายตาของประชาชน ขาดกลไกการตรวจสอบความโปร่งใสที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะเข้าไปตรวจสอบการทุจริตของบุคคลเหล่านี้
4) การผูกขาด ในบางกรณีการดําเนินงานของภาครัฐ ได้แก่ การจัดซื้อ-จัดจ้าง เป็นเรื่องของการ ผูกขาด ดังนั้นจึงมีความเกี่ยวของเป็นห่วงโซ่ผลประโยชน์ทางธุรกิจ ในบางครั้งพบบริษัทมีการให้สินบนแก่ เจ้าหน้าที่
เพื่อให้ตนเองไดรับสิทธิในการดําเนินงานโครงการของภาครัฐ รูปแบบของการผูกขาด ได้แก่ การผูกขาดในโครงการก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ
5) การได้รับคาตอบแทนที่ไม่เหมาะสม รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ความยากจนถือเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทําให้ข้าราชการมีพฤติกรรมการทุจริต เพราะความต้องการที่จะมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทําให้เจ้าหน้าที่ต้องแสวงหาช่องทางเพื่อเพิ่ม "รายได้พิเศษ" ให้กับตนเองและครอบครัว
6) การขาดจริยธรรม คุณธรรม ในสมัยโบราณ ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณธรรมที่ได้รับการเน้นเป็นพิเศษถือว่าเป็นเครื่องวัดความดีของคน แต่ในปัจจุบัน พบว่า คนมีความละอายต่อบาปและเกรงกลัวบาป น้อยลง และมีความเห็นแก่ตัวมากยิ่งขึ้น มองแต่ประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งมากกว่าที่จะยึดผลประโยชน์ส่วนรวม
7) มีค่านิยมที่ผิด ปัจจุบันค่านิยมของสังคมได้เปลี่ยนจากยกย่องคนดี คนที่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นยกย่องคนที่มีเงิน คนที่เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี คนที่มีตําแหน่งหน้าที่การงานสูง ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่มีค่านิยมที่ผิด เห็นว่าการทุจริตเป็นวิถีชีวิตเป็นเรื่องปกติธรรมดา เห็นคนซื่อเป็นคนเซ่อ เห็นคนโกงเป็นคนฉลาด ยอมจะทําการทุจริตฉ้อราษฎรบังหลวง โดยไมมีความละอายต่อบุญและบาป และไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายของบ้านเมือง
2. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทยถือเป็นปัญหาเรื้อรังที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรง และสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ เป็นปัญหา ลําดับต้น ๆ ที่ขัดขวางการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เนื่องจากเกิดขึ้นทุกภาคส่วน ในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคการเมือง ภาคราชการ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมักถูกมองจาก ภายนอกสังคมว่าเป็นองค์กรที่เอื้อต่อการทุจริตคอร์รัปชั่นและมักจะปรากฏข่าวการทุจริตตามสื่อและรายงานของทางราชการอยู่เสมอ ซึ่งได้ส่งผลสะเทือนต่อกระแสการกระจายอํานาจและความศรัทธาต่อระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างยิ่ง ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น มีผลในเชิงลบ สอดคล้องกับการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น (Corruption Perception Index – CPI) ซึ่งเป็น เครื่องมือที่ใช้ประเมินการทุจริตคอร์รัปชั่นทั่วโลกที่จัดโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International – IT) พบว่า ผลคะแนนของประเทศไทยระหว่างปี 2555 - 2558 อยูที่ 35 - 38 คะแนน จาก คะแนนเต็ม 100 โดยในปี 2558 อยู่อันดับที่ 76 จาก 168 ประเทศทั่วโลก และเปนอันดับที่ 3 ในประเทศอาเซียนรองจากประเทศสิงค์โปรและประเทศมาเลเซีย และล่าสุดพบว่าผลคะแนนของประเทศไทยปี 2559 ลดลง 3 คะแนน จากปี 2558 ได้ลําดับที่ 101 จาก 168 ประเทศ ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาการคอร์รัปชั่นอยู่ในระดับสูง
แม้ว่าคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้จัดทํายุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมาแล้ว 3 ฉบับ แต่ปัญหาการทุจริตในประเทศไทยไม่ได้มีแนวโน้มที่จะลดน้อยถอยลง สาเหตุที่ทําให้การทุจริตเป็นปัญหาที่สําคัญของสังคมไทยประกอบด้วยปัจจัยทางด้านพื้นฐาน โครงสร้างสังคม ซึ่งเป็นสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์แนวดิ่ง (Vertical Relation) หรืออีกนัยหนึ่งคือ พื้นฐานของสังคมอุปถัมภ์ที่ทําให้สังคมไทยยึดติดกับการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะในหมู่ญาติพี่น้องและ พวกพ้อง ยึดติดกับกระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม ติดความสบาย ยกย่องคนที่มีเงินและมีอํานาจ คนไทยบางส่วน มองว่าการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องปกติที่ยอมรับได้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต หรือกล่าวได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมและวัฒนธรรมไทยไปแล้ว ผนวกกับปัจจัยทางด้านการทํางานที่ไม่ได้บูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนไว้ด้วยกัน จึง
ส่งผลให้การทํางานของกลไกหรือความพยายามที่ได้กล่าวมาข้างต้นไม่สามารถทําได้อย่างเต็มศักยภาพ ขาดความเข้มแข็ง
ปัจจุบันยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่ใช้อยู่เป็นฉบับที่ 3 เริ่มจากปี พ.ศ. 2560 จนถึงปี พ.ศ. 2564 ซึ่งมุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีมาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรม เป็นสังคมมิติใหม่ ที่ประชาชนไม่เพิกเฉยต่อการทุจริตทุกรูปแบบ โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายการเมือง หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนประชาชน ในการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติและประชาชนเพื่อให้ประเทศไทยมีศักดิ์ศรีและ เกียรติภูมิในด้านความโปร่งใสทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดยกําหนดวิสัยทัศน์ "ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต" มีเป้าหมายหลักเพื่อให้ประเทศไทยได้รับการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งการที่ระดับคะแนนจะ สูงขึ้นได้นั้น การบริหารงานภาครัฐต้องมีระดับธรรมาภิบาลที่สูงขึ้น เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนต้องมี พฤติกรรมแตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช้ตําแหน่งหน้าที่ในทางทุจริตประพฤติมิชอบ โดยได้กําหนดยุทธศาสตร์การดําเนินงานหลักออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับเจตจํานงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรูการทุจริต (Corruption Perception Index : CPI)
ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินการขับเคลื่อนด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตบังเกิดผลเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะ ที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงได้ตระหนักและให้ความสําคัญกับการบริหารจัดการที่มีความโปร่งใส สร้างค่านิยม วัฒนธรรมสุจริตให้เกิดในสังคมอย่างยั่งยืนจึงได้ดําเนินการจัดทํา แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต เพื่อกําหนดแนวทางการขับเคลื่อนด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผ่าน โครงการ/กิจกรรม/มาตรการต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน อันจะนําไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างแท้จริง
3. วัตถุประสงค์ของการจัดทําแผน
1) เพื่อยกระดับเจตจํานงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริตของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) เพื่อยกระดับจิตสํานึกรับผิดชอบในผลประโยชน์ของสาธารณะของข้าราชการฝ่ายการเมือง ข้าราชการฝ่ายบริหาร บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมถึงประชาชนในท้องถิ่น
3) เพื่อให้การบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)
4) เพื่อส่งเสริมบทบาทการมีส่วนรวม (people's participation) และตรวจสอบ (People’s audit) ของภาคประชาชนในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5) เพื่อพัฒนาระบบ กลไก มาตรการ รวมถึงเครือข่ายในการตรวจสอบการปฏิบัติราชการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. เป้าหมาย
1) ข้าราชการฝ่ายการเมือง ข้าราชการฝ่ายบริหาร บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมถึง
ประชาชนในท้องถิ่นมีจิตสํานึกและความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้บังเกิดประโยชน์สุขแก่ ประชาชนท้องถิ่น ปราศจากการก่อให้เกิดข้อสงสัยในการประพฤติปฏิบัติตามมาตรการจริยธรรม การขัดกันแห่งผลประโยชน์และแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
2) เครื่องมือ/มาตรการการปฏิบัติงานที่สามารถป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติ มิชอบของข้าราชการ
3) โครงการ/กิจกรรม/มาตรการที่สนับสนุนให้สาธารณะและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและ ตรวจสอบการปฏิบัติหรือบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) กลไก มาตรการ รวมถึงเครือข่ายในการตรวจสอบการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นที่มีเข้มแข็งในการตรวจสอบ ควบคุมและถ่วงดุลการใช้อํานาจอย่างเหมาะสม
5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแผนงานที่มีประสิทธิภาพ ลดโอกาสในการกระทําการทุจริตและ ประพฤติมิชอบ จนเป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วน
5. ประโยชน์ของการจัดทําแผน
1) ข้าราชการฝ่ายการเมือง ข้าราชการฝ่ายบริหาร บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมถึง ประชาชนในท้องถิ่นมีจิตสํานึกรักท้องถิ่นของตนเอง อันจะนํามาซึ่งการสร้างค่านิยม และอุดมการณ์ในการ ต่อต้านการทุจริต (Anti-Corruption) จากการปลูกฝังหลักคุณธรรม จริยธรรม หลักธรรมาภิบาล รวมถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการทํางานและชีวิตประจําวัน
2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถบริหารราชการเป็นไปตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) มีความโปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้
3) ภาคประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมตัดสินใจรวมถึงร่วมตรวจสอบในฐานะพลเมืองที่มีจิตสํานึกรักท้องถิ่น อันจะนํามาซึ่งการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนที่มีความเข้มแข็งในการเฝ้าระวังการทุจริต
4) สามารถพัฒนาระบบ กลไก มาตรการ รวมถึงเครือข่ายในการตรวจสอบการปฏิบัติราชการของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรที่มีความเข้มแข็งในการเฝ้าระวังการทุจริต
5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวทางการบริหารราชการที่มีประสิทธิภาพ ลดโอกาสในการกระทํา การทุจริตและประพฤติมิชอบ จนเป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วนให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบ ด้านการป้องกันการทุจริต อันจะส่งผลให้ประชาชนในท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจและให้ความร่วมมือกันเป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวังการทุจริตที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน
ส่วนที่ 2
รายละเอียดกรอบการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
(ภาพรวม)
ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้องไม่มีข้อมูล!! |