ประชาสัมพันธ์ เรื่องรายงานผลการวิจัยการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ ประจำปี 2562

26 กันยายน 2562
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง

บทที่5

สรุปผลการวิจัย

 

สรุปผลการวิจัย

          การวิจัยเรื่อง “การประเมินความพึงพอใจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้อำเภอไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรี” โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือเพื่อประเมินระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีจำนวน
5 ภาระงานประกอบด้วย

               1. โครงการด้านการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นทอดสะพานค้ำต้นโพธิ์

               2. โครงการด้านท้องถิ่นอาสาปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ “จิตอาสา สร้างป่า รักษ์น้ำ”

               3. โครงการด้านงานส่งเสริมอาชีพ

               4. โครงการด้านการพัฒนาป่าชุมชน

               5. โครงการด้านงานสาธารณสุขมูลฐาน

          ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ(Survey)โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้คือผู้ที่มีส่วนไดสวนเสียที่มาขอรับหรือใช้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้อำเภอไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรีจำนวน360คนโดยใช้วิธีการสุ่มแบบตามความสะดวก (Convenience หรือ Accidental Sampling)นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณนาแสดงค่าจำนวนร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้

 

                        ผลการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 46 – 55 ปีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า/ปวช.อาชีพเกษตรกร รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001–15,000 บาท และขอรับบริการจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ โดยเฉลี่ย3 – 5 ครั้งต่อปี

 

ผลการแจกแจงข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ผู้ตอบแบบสอบถาม มีระดับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงาน การให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้องตี้ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.55คิดเป็นร้อยละ91.19 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจในด้านการพัฒนาป่าชุมชน ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.62 คิดเป็นร้อยละ92.56 รองลงมาได้แก่ ความพึงพอใจในด้านงานส่งเสริมอาชีพ ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.59คิดเป็นร้อยละ91.92ความพึงพอใจในด้านด้านงานสาธารณสุขมูลฐาน ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.53 คิดเป็นร้อยละ90.72 ความพึงพอใจในด้านโครงการอาสาปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ “จิตอาสา สร้างป่า รักษ์น้ำ” ในระดับมากที่สุดด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.52คิดเป็นร้อยละ 90.52และความพึงพอใจในด้านการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นทอดสะพานค้ำต้นโพธิ์ ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยที่ 4.51คิดเป็นร้อยละ90.24ตามลำดับและหากพิจารณาแต่ละภาระงาน พบว่า

 

ภาระงานที่1ความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการด้านโครงการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นทอดสะพานค้ำต้นโพธิ์เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจในเรื่อง มีดำเนินการเพื่อการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง รองลงมา คือจัดทำหรือรวบรวมข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นทอดสะพานค้ำต้นโพธิ์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นและจัดให้มีหรือสนับสนุนกิจกรรมที่เสริมความรู้แก่เด็กและเยาวชนเกี่ยวกับส่งเสริม วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นทอดสะพานค้ำต้นโพธิ์ ในระดับมากที่สุดด้วยค่าเฉลี่ย4.57, 4.52 และ 4.51 คิดเป็นร้อยละ 91.40, 90.40และ 90.20 ตามลำดับ

 

ภาระงานที่2ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการอาสาปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ “จิตอาสา สร้างป่า รักษ์น้ำ” เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจในเรื่อง กิจกรรมก่อให้เกิดความมีจิตอาสา มีการแบ่งปัน การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ร่วมมือกัน รองลงมาคือ อบต.สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อทำประโยชน์แก่ส่วนรวมและมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม“จิตอาสา สร้างป่า รักษ์น้ำ” ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.63, 4.56 และ 4.52 คิดเป็นร้อยละ 92.60, 91.20และ 90.40 ตามลำดับ

 

ภาระงานที่ 3ความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการด้านงานส่งเสริมอาชีพเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจในเรื่อง อบต.ฯ มีการประชาสัมพันธ์และติดตามประเมินผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าของกลุ่มอาชีพ รองลงมาคือ อบต.ฯ มีการจัดกิจกรรมเพื่อการมีส่วนร่วมฝึกอาชีพและฝึกปฏิบัติจริงตามขั้นตอนและอบต.ฯ มีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ กลุ่มอาชีพในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.73,4.71 และ 4.56 คิดเป็นร้อยละ 94.60, 94.20 และ 91.20 ตามลำดับ

 

ภาระงานที่4ด้านความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการด้านการพัฒนาป่าชุมชนเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจในเรื่อง อบต.ฯ มีโครงการการพัฒนาป่าชุมชน อย่างต่อเนื่อง รองลงมา คือ อบต.ฯ มีแนวการพัฒนาป่าชุมชนในพื้นที่และอบต.ฯ มีการประชาสัมพันธ์ โครงการการพัฒนาป่าชุมชนอย่างทั่วถึงในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.71, 4.69 และ 4.68 คิดเป็นร้อยละ 94.20, 93.80 และ 93.60 ตามลำดับ

 

ภาระงานที่ 5ความพึงพอใจที่มีต่อด้านงานสาธารณสุขมูลฐานเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจในเรื่องการจัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนรองลงมา คือการให้บริการ มีความเหมาะสม มีการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อมในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.57,4.55 และ 4.54 คิดเป็นร้อยละ 91.40, 91.00 และ 90.80 ตามลำดับ

 

ข้อเสนอแนะเชิงบริหาร

ด้านนโยบาย

1. ควรกำหนดและชี้แจงนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารงานในแต่ละด้านต่อสาธารณะชนอย่างทั่วถึง

2. ควรมีนโยบายที่มุ่งเน้นความสำคัญต่อโครงการต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในชุมชนในพื้นที่

3. ควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้องกับงานในแต่ละด้านเพื่อความเข้าใจของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล

 

ด้านการปฏิบัติ

1. ควรประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆ ให้ชัดเจนและทั่วถึงในทุกชุมชนและหมู่บ้าน

2. ควรให้ความรู้และชี้แจงระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ ให้กับประชาชนในพื้นที่รับทราบอย่างทั่วถึงและเข้าใจ

3. ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนให้ทั่วถึงและมากยิ่งขึ้น